logo isranews

logo small 2

ก.ไอซีทีจ้างเหมาทำสติกเกอร์ไลน์ “ค่านิยม 12 ประการ” 7.1 ล้าน

เขียนวันที่
วันพุธ ที่ 17 ธันวาคม 2557 เวลา 06:00 น.
เขียนโดย
isranews

ก.ไอซีทีจ้างเหมาเอกชนทำสติกเกอร์ไลน์ “ค่านิยม 12 ประการ” 7.1 ล้าน ตามนโยบาย คสช. เปิดดาวน์โหลดฟรี 30 ธ.ค. 2557 มอบเป็นของขวัญให้คนไทย

PIC-ict-17-12-57 1

สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบพบว่า เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2557 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ทำโครงการจ้างเหมาจัดทำ Line Sticker เพื่อเผยแพร่ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ วงเงินงบประมาณ 7,117,400 บาท กำหนดแหล่งราคากลางจาก Line Company (Thailand) Limited

PIC-จดจางทำสตกเกอรไลน-2

PIC-จดจางทำสตกเกอรไลน-1

ดูฉบับเต็ม : http://www.mict.go.th/assets/portals/1/files/download/571212_LINE.pdf

โดยเว็บไซต์เดลินิวส์ออนไลน์ รายงานว่า นางทรงพร โกมลสุรเดช รองปลัดกระทรวงไอซีที และโฆษกกระทรวงไอซีที เปิดเผยผ่านสื่อว่า อยู่ระหว่างการจัดทำสติกเกอร์ให้โหลดฟรีผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ (Line) ในชื่อชุด “ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ” ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อเป็นของขวัญให้กับประชาชนไทยที่นิยมส่งสติกเกอร์ผ่าน Line ในปี 2558 โดยว่าจ้างบริษัทเอกชนเพื่อออกแบบสติกเกอร์ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ พร้อมให้ดาวน์โหลดฟรีวันที่ 30 ธันวาคม 2557

สำหรับ “ค่านิยม 12 ประการ” ประกอบด้วย

1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี
11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา
12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง