คอร์รัปชั่นระดับท้องถิ่น โดย วสิษฐ เดชกุญชร
เมื่อวันที่ ๒๒ เดือนนี้ (สิงหาคม ๒๕๕๕) ศาลจังหวัดลำปางได้มีคำพิพากษาจำคุกนายก องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) สบปาด อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เป็นเวลา ๖ ปี โดยไม่รอ การลงอาญา ฐานยักยอกทรัพย์ เป็นเจ้าหน้าที่ประพฤติมิชอบ และละเลยต่อหน้าที่
พฤติการณ์อันเป็นความผิดของนายก อบต.ผู้นี้ ปรากฏในการพิจารณาของศาลว่า ราษฎร ตำบลสบปาด ๒ รายได้ว่าจ้างรถไถของ อบต.สบปาด โดยจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่นายก อบต. ราย แรกเป็นเงิน ๑,๓๐๐ บาท และรายหลัง ๔๐๐ บาท หลังจากนั้นปรากฏว่านายก อบต.มิได้นำเงิน ส่งเจ้าหน้าที่การคลัง ราษฎรจึงแจ้งความตำรวจขอให้ดำเนินคดี อัยการสั่งฟ้อง จนกระทั่งศาลมี คำพิพากษา ปรากฏตามข่าวด้วยว่านายก อบต.สบปาดจะอุทธรณ์คำพิพากษา
เป็นที่สังเกตว่า ข่าวเกี่ยวกับการทุจริตประพฤติมิชอบในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) อันได้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และ อบต.นี้ มีอยู่เสมอ ถ้าจะว่าไปแล้วก็เป็นเรื่องที่อยู่ ในวิสัยที่จะเกิดขึ้นได้ เพราะ อปท.ก็คือรัฐบาลท้องถิ่น ไม่ต่างอะไรกับรัฐบาลกลางหรือรัฐบาลชาติ มีผู้บริหารและมีอำนาจกำกับการบริหารงบประมาณ ทำนองเดียวกับรัฐมนตรี เมื่อมีทั้งอำนาจและ ทั้งเงินในความรับผิดชอบ ก็ย่อมมีช่องทางและเห็นช่องทางที่จะหาประโยชน์โดยมิชอบจากอำนาจ และเงิน ซึ่งในที่สุดก็นำไปสู่ทุจริตหรือคอร์รัปชั่น
ถ้าจะดูจากกฎหมาย (พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ ๕ พ.ศ.๒๕๔๖) ก็จะเห็นว่า นายก อบต.มีอำนาจหน้าที่ในการจัด เก็บภาษีหลายประเภท อาทิ ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย อากรฆ่าสัตว์และค่า ธรรมเนียม ภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลกฎหมายรัษฎากรซึ่งสถานประกอบการตั้งอยู่ใน อบต. ค่า ธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุรา ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในการเล่นการพนัน
อำนาจหน้าที่ในการพิจารณาอนุญาตเหล่านี้ล้วนอาจเป็นช่องทางให้เกิดทุจริตหรือคอร์รัป ชั่นได้ทั้งนั้น
สรุปว่า จะเป็นรัฐบาลระดับไหนก็ตาม มีโอกาสที่จะมีคอร์รัปชั่นเหมือนกันทั้งสิ้น เพราะ ฉะนั้นก็ต้องตามปราบปรามกันทั้งระดับชาติและท้องถิ่น
การปราบปรามอาจทำได้หลายทาง ทางหนึ่งก็อย่างที่ราษฎรตำบลสบปาดเลือกใช้ คือแจ้ง ความให้ตำรวจดำเนินคดี อีกทางหนึ่งก็คือร้องเรียนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) แล้วแต่กรณี แต่จะเป็นทางใดก็ตาม ปัญหาที่เกี่ยวพันกันก็มีไม่น้อย
ปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งก็คือ ทั้งคณะ ป.ป.ช.และ ป.ป.ท.มีคดีที่ต้องสืบสวนสอบสวนอยู่ เป็นจำนวนมาก แต่มีเจ้าหน้าที่น้อย การสืบสวนสอบสวนจึงกินเวลานานเป็นเดือนหรือเป็นปี ใน กรณีเช่นนี้ผู้ถูกสืบสวนหรือสอบสวนจึงมักจะรู้ตัว และวิ่งเต้นหาวิธีระงับหรือข่มขู่มิให้พยานให้การ นอกจากนั้น คณะกรรมการยังดำเนินงานแบบคอยให้มีผู้ร้องเรียนเสียก่อน แทนที่จะดำเนินงานเชิง รุก โดยให้เจ้าหน้าที่ออกสืบสวนแบบล่อซื้อแล้วจับกุมขณะที่เจ้าหน้าที่ที่ทุจริตเรียกและรับสินบน
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งในการปราบปรามคอร์รัปชั่นระดับท้องถิ่นนั้นก็คือ หาพยานหลักฐาน ได้ยาก โดยเฉพาะเมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับการประกอบอาชีพหรือทำมาหากิน ที่มักจะทำให้ผู้ถูกเรียก ร้องบังคับเอาประโยชน์โดยมิชอบลังเลใจไม่อยากร้องเรียนกล่าวโทษ เพราะจะทำให้กระทบกระ เทือนกับอาชีพของตน ตัวอย่างจริง ๆ ได้แก่ผู้ที่ผมรู้จักผู้หนึ่งซึ่งมาปรับทุกข์ว่า กำลังจะตั้งโรงงาน เล็ก ๆ ผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือนขึ้นในจังหวัดใกล้ ๆ กรุงเทพมหานคร แล้วถูกเจ้าหน้าที่ ถ่วงเรื่อง เอาไว้ ครั้นเร่งรัดเข้าก็บอกว่าให้ไป "คุย" กับปลัด อบต.หรือนายก อบต.เสียก่อน หมาย ความว่ากำลังมีการเรียกสินบนหรือเรียกเงินเพื่อแลกกับการอนุญาตให้ตั้งโรงงานนั่นเอง
รายนี้ผมแนะนำประสาตำรวจว่า ให้เขานัดจ่ายเงินที่ถูกเรียกร้อง แล้วก็เอาตำรวจจับให้คา หนังคาเขาเลย แต่ผู้ที่ผมรู้จักรายนี้บอกว่า ถ้าทำยังงั้นเขาก็หมดทางหากิน โรงงานไม่ได้ตั้ง สู้จ่าย เงินให้ตามที่ถูกเรียกร้องไม่ได้ คิดเสียว่าเป็น "รายจ่าย" รายการหนึ่งในการตั้งโรงงาน
ผมเดาเอาว่าคงมีโรงงานเป็นจำนวนไม่น้อย ที่ตั้งขึ้นโดยต้องมี "รายจ่าย" ประเภทนี้ ราย จ่ายที่สมัยหนึ่งพ่อค้าจีนเรียกว่าเงิน "เก๋าเจี๊ยะ" แปลว่าให้หมากิน
เมื่อเป็นปัญหาท้องถิ่น การป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชั่นจะได้ผล ก็ต้องอาศัยเจ้าของ ท้องถิ่นคือราษฎรหรือประชาชนนัั้นเองเป็นหูเป็นตา ช่วยสอดส่องรายงาน และเป็นพยาน สำหรับ ตัวรัฐบาลท้องถิ่นคือ อปท.นั้น มีกฎหมายชื่อเพราะฉบับหนึ่งคือ พระราชกฎษฎีกาว่าด้วยหลักการ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖ ซึ่งในมาตรา ๕๒ กำหนดให้ อปท.จัดทำหลัก เกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของพระราชกฎษฎีกาฉบับนั้น โดยอย่างน้อย ต้องมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และการอำนวยความสะดวกและการตอบ สนองความต้องการของประชาชน ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายฉบับนั้น ในหมวด ๕ และหมวด ๗
พระราชกฎษฎีกาฉบับนี้ออกมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ หรือเกือบ ๑๑ ปีแล้ว ถ้ามีการปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์ในกฎหมายฉบับนี้ อบต.ก็จะมีช่องทางทุจริตน้อยลง แต่ถ้าหากจะดูจากพฤติการณ์ที่ ส่อทุจริตของ อบต.ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ก็น่าเชื่อว่า ทั้งเจ้าหน้าที่ของ อบต.และประชาชนไม่รู้ หรือไม่สนใจในสาระสำคัญและคุณค่าของกฎหมายฉบับนี้เลย
ทุจริตหรือคอร์รัปชั่นในระดับท้องถิ่นจึงเหมือนกับโรคร้ายอีกโรคหนึ่งที่กัดกินทำลายบ้าน เมือง เพิ่มเติมจากโรคร้ายที่มีอยู่แล้วในระดับชาติ ที่ยังจะต้องบำบัดรักษากันไป โดยไม่มีใครรู้ว่าจะ หายเมื่อใด.