ให้พนักงานฝ่ายปกครองขอหลักฐานการประสานงานเป็นหนังสือจากพนักงาน สอบสวนคดีพิเศษ และเอกสารที่ยืนยันการเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้มีอำนาจและหน้าที่สืบสวนและสอบสวน คดีพิเศษตามมาตรา 3 และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547
สืบเนื่องจากวันที่ 9 พ.ค.ที่ผ่านมา ปรากฎเป็นข่าวว่ากระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ให้มีคำสั่งไปยังพนักงานฝ่ายปกครองขอหลักฐานเการประสานงานเป็นหนังสือจากพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และเอกสารที่ยืนยันการเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้มีอำนาจและหน้าที่สอบคดีฮั้วเลือกตั้ง สว. ซึ่งมี สว.ลอตแรกถูกออกหมายเรียกจำนวน 53 คน
โดยหนังสือกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวนั้นมีขึ้นหลังจากมีข่าวว่ามีผู้อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ DSI สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้ง สว.จากอดีตผู้สมัคร สว.จังหวัดอำนาจเจริญ
จากข่าวดังกล่าวนั้น สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) จึงได้นำเสนอหนังสือฉบับเต็มที่กระทรวงมหาดไทยได้ส่งถึงผู้ว่าราชการทุกจังหวัด มีรายละเอียดดังนี้
เรียน ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด (ยกเว้นจังหวัดอำนาจเจริญ)
ด้วยกระทรวงมหาดไทยได้รับรายงานเหตุการณ์จากจังหวัดอำนาจเจริญ กรณีเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2568 มีกลุ่มบุคคลอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ลงพื้นที่จังหวัด อำนาจเจริญ เพื่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภาจากอดีตผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา โดยอดีตผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภาเห็นว่า มีการกระทำในลักษณะที่ไม่เหมาะสมและไม่เชื่อว่า เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐจริง จึงปฏิเสธไม่ให้ข้อมูล ต่อมาได้ปรากฏข่าวในสื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว
โดยเฉพาะด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับประชาชนและการประสานงานระหว่างหน่วยงานกระบวนการยุติธรรม
กระทรวงมหาดไทยพิจารณารายงานข้อเท็จจริงตามเหตุการณ์ดังกล่าวแล้วเห็นว่า การที่มี กลุ่มบุคคลอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมสอบสวนคดีพิเศษลงพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อสอบถามข้อมูล จากอดีตผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา จํานวน 2 ราย ซึ่งไม่ได้แสดงตนในการเป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจ หน้าที่สืบสวนสอบสวนคดีอาญาให้ประชาชนที่เกี่ยวข้องทราบและเข้าใจ พร้อมทั้งให้ความยินยอมหรือให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดต่อกันระหว่างประชาชนกับพนักงานสอบสวน คดีพิเศษ และอาจละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในการนี้ถือว่า มีเหตุการณ์อันควรสงสัยเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ จึงสามารถใช้อำนาจ การบริหารราชการแผ่นดินควบคู่กับอำนาจสืบสวนสอบสวนคดีอาญาตามกฎหมาย เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและสิทธิของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้
ในเรื่องดังกล่าว และรายงานเหตุการณ์ให้กระทรวงมหาดไทยทราบได้เนื่องจากผู้ว่าราชการจังหวัดนายอำเภอ
มีหน้าที่และอำนาจในการดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย และเป็นธรรมในสังคมภายในเขตอำนาจจังหวัดอำเภอ ตามมาตรา 52/1 และมาตรา 61/1 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และผู้ว่าราชการจังหวัดนายอำเภอเป็น พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ มีหน้าที่และอำนาจรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาได้ และมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาในเขตอำนาจของจังหวัด อำเภอ ตามมาตรา 2 (16) (17) มาตรา 17 และมาตรา 18 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้เป็นไปตามกฎหมาย และให้การปฏิบัติ ราชการของแต่ละส่วนราชการที่ต้องรับผิดชอบงานในหน้าที่ของตนสามารถดำเนินการไปได้โดยสอดคล้องกัน จึงเห็นควรทบทวนแนวทางการปฏิบัติของพนักงานฝ่ายปกครองที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การอำนวยความเป็นธรรมของสังคม และการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาในเขตอำนาจ ของจังหวัด อำเภอ ดังนี้
1. การปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
1.1การสืบสวนคดีอาญา หมายความถึงการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งพนักงาน ฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด โดยพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจสืบสวนคดีอาญาได้ตามมาตรา 2 (10) (16) (17) และมาตรา 17 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(1) พนักงานฝ่ายปกครองชั้นผู้ใหญ่ตามมาตรา 2 (17) แห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญาในเขตจังหวัด ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัดและนายอำเภอ
(2) พนักงานฝ่ายปกครองตามมาตรา 2 (16) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา และพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้แก่ เจ้าพนักงานปกครอง ที่ทำการปกครองจังหวัด (ในส่วนงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อย) ปลัดอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบและฝ่ายปกครอง
(3) เจ้าพนักงานซึ่งมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนร่วมกับพนักงาน ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ได้แก่ เจ้าหน้าที่และสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ตามมาตรา 16 (2) แห่ง พระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497
โดยการใช้อำนาจสืบสวนของพนักงานฝ่ายปกครองให้คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน และการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นสําคัญ การค้น การจับ การควบคุม การยึดของกลางไว้เป็น พยานหลักฐาน การแจ้งข้อกล่าวหา การแจ้งสิทธิตามกฎหมาย และการบันทึก ให้ดำเนินการตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
1.2 การสอบสวนคดีอาญา หมายความถึงการรวบรวมพยานหลักฐาน และการดำเนินการ ทั้งหลายอื่น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไป เกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิด มาฟ้องลงโทษ ตามมาตรา 2 (11) และมาตรา 18 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้กำหนดให้ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอ และข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรี หรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดหรืออ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตนหรือผู้ต้องหามีที่อยู่หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตนได้
(1) พนักงานฝ่ายปกครองชั้นผู้ใหญ่ที่มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาในท้องที่อำเภอในเขตจังหวัด ตามมาตรา 2 (17) และมาตรา 18 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด และนายอำเภอ
(2) พนักงานฝ่ายปกครองที่มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาในท้องที่อำเภอในเขตจังหวัด ตามมาตรา 18 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้แก่ ปลัดอำเภอ
โดยการใช้อำนาจสอบสวนของพนักงานฝ่ายปกครองชั้นผู้ใหญ่และปลัดอำเภอ และการเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ตามมาตรา 18 วรรคสี่ ประกอบมาตรา 140 แห่งประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้ดำเนินการตามกฎกระทรวงกำหนดการสอบสวนความผิดอาญาบางประเภทในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานครโดยพนักงานสอบสวนฝ่ายปกครอง
พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 และข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยระเบียบการดำเนิน คดีอาญา พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. การรับคำร้องทุกข์ในกรณีที่ผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจว่า มีผู้กระทำความผิดขึ้น ซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ตามมาตรา 2 (2) และมาตรา 124 แห่งประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา ให้พนักงานฝ่ายปกครองผู้รับคำร้องทุกข์พิจารณาข้อกล่าวหาหรือฐานความผิดว่าอยู่ในหน้าที่และอำนาจของพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือพนักงานสอบสวน คดีพิเศษตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 โดยให้พนักงานฝ่ายปกครองส่งคำร้องทุกข์นั้น ให้พนักงานสอบสวนที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป
3.การปฏิบัติหน้าที่ในคดีพิเศษระหว่างหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง กรณีพนักงาน สอบสวนคดีพิเศษหรือกรมสอบสวนคดีพิเศษประสานขอความร่วมมือพนักงานฝ่ายปกครองผู้มีอำนาจ สืบสวนสอบสวน ให้สนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 และข้อบังคับ กกพ. ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ ในคดีพิเศษระหว่างหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564
3.1 ให้พนักงานฝ่ายปกครองขอหลักฐานการประสานงานเป็นหนังสือจากพนักงาน สอบสวนคดีพิเศษ และเอกสารที่ยืนยันการเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้มีอำนาจและหน้าที่สืบสวนและสอบสวน คดีพิเศษตามมาตรา 3 และมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ที่จะขอให้ พนักงานฝ่ายปกครองให้ความร่วมมือและสนับสนุนการสอบสวนคดีพิเศษนั้น เพื่อให้พนักงานฝ่ายปกครองใช้เป็นพยานหลักฐานในการอ้างอิงฐานอำนาจตามกฎหมายและเหตุผลความจําเป็นที่ต้องปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างพนักงานฝ่ายปกครองและพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ โดยในส่วนของพนักงานฝ่ายปกครองให้เสนอผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาสั่งการ
3.2 การปฏิบัติหน้าที่สนับสนุนพนักงานสอบสวนคดีพิเศษอันเกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพ ของประชาชน สิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย สิทธิของบุคคลในคดีอาญา สิทธิส่วนตัว และเสรีภาพ ในเคหสถาน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ให้พนักงานฝ่ายปกครองถือปฏิบัติ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด รวมถึงขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานฝ่ายปกครองตามกฎหมายด้วย
3.3การให้ความร่วมมือและสนับสนุนแลกเปลี่ยนข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองดูแล รวมถึงการเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารโดยตรง หรือการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร หรือความร่วมมือสนับสนุนอื่นใด ตามที่ได้รับการร้องขอจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ ให้พนักงานฝ่ายปกครองพิจารณาสนับสนุนภายใต้ขอบเขต ที่กฎหมายเฉพาะ กฎ ระเบียบอันว่าด้วยการนั้นกำหนดให้กระทำได้
3.4 กรณีกรมสอบสวนคดีพิเศษขอรับการสนับสนุนการดำเนินการที่เกี่ยวกับคดีพิเศษ ในเรื่องการสนธิกำลัง บุคลากร สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ อาวุธยุทธภัณฑ์ ยานพาหนะ และการดำเนินการอื่นใด การให้ความร่วมมือและสนับสนุน ให้จังหวัดพิจารณาขอบเขตหน้าที่และอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครอง ตามกฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น ความพร้อม และความเหมาะสมกับลักษณะการปฏิบัติหน้าที่ประกอบด้วย และให้ดำเนินการตามกฎหมายกฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น
4. การดำเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำ ให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565
ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีหน้าที่และอำนาจในการรักษาความสงบเรียบร้อย การสืบสวนสอบสวนคดีอาญาได้ทำการควบคุมตัวบุคคลใด เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบต้องบันทึกภาพและเสียง อย่างต่อเนื่องในขณะจับและควบคุม จนกระทั่งส่งตัวให้พนักงานสอบสวนหรือปล่อยตัวบุคคลดังกล่าวไปอีกทั้งจะต้องแจ้งพนักงานอัยการและนายอำเภอในท้องที่ที่มีการควบคุมตัวโดยทันที หากนายอำเภอผู้รับแจ้งเห็นว่า มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการทรมาน การกระทำที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือการกระทำให้บุคคลสูญหาย
นายอำเภอหรือพนักงานฝ่ายปกครองซึ่งได้รับมอบหมายจากนายอำเภอมีสิทธิ ยื่นคำร้องต่อศาลท้องที่ที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญา เพื่อให้มีคำสั่งยุติการกระทำเช่นนั้นทันที ตามมาตรา 22 และมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 นอกจากนั้นในมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกันนี้ได้กำหนดให้พนักงานฝ่ายปกครอง ชั้นผู้ใหญ่ พนักงานฝ่ายปกครองตำแหน่งตั้งแต่ปลัดอำเภอหรือเทียบเท่าขึ้นไป ในสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ และพนักงานอัยการ เป็นพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวน และรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และดำเนินคดีความผิดตามพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 และความผิดอื่นที่เกี่ยวพันกันได้
ดังนั้น การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการรักษาความสงบเรียบร้อย การสืบสวนสอบสวนคดีอาญา จึงต้องปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ รวมทั้งระเบียบ กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัดเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
ทั้งนี้ ขอให้จังหวัดพิจารณาดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว และแจ้งให้ทุกอำเภอใช้เป็นแนวทาง ในการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบกฎหมาย รวมถึงสร้างการรับรู้และความเข้าใจกับประชาชนในเขตพื้นที่ทราบภารกิจด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและการอำนวยความเป็นธรรมแก่ประชาชนในหน้าที่ของพนักงาน ฝ่ายปกครอง โดยสามารถร้องขอความเป็นธรรมผ่านศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดและศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ หรือระบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน “ศูนย์ดำรงธรรม 1567” และสายด่วน 1567 โดยในกรณีที่มี การดำเนินการตามข้อที่ 3 ให้รายงานผลให้กระทรวงมหาดไทยทราบด้วย