“...มีพฤติการณ์ ขอ รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดในประการที่อาจทำให้กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในอนาคต...”
พรรคประชาชน นำโดย ‘ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ’ หัวหน้าพรรคประชาชน รวบรวมรายชื่อ สส.และสว. จำนวน 145 คน ประกอบด้วย พรรคประชาชน 143 รายชื่อ พรรคเป็นธรรม 1 รายชื่อ และ 1 รายชื่อ ข้อกล่าวประธานและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พร้อมกับแนบหลักฐาน 18 รายการ ยื่นต่อ ‘วันมูหะมัดนอร์ มะทา’ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานรัฐสภา เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568
อ่านข่าวประกอบ : ‘พรรคประชาชน’ ยื่น 145 รายชื่อ สส.- สว. กล่าวหา ปธ.-กก.ป.ป.ช.ปมผลสอบนาฬิกาหรู-คลิปหลุด
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ขอนำรายละเอียดของคำร้องฉบับเต็ม ของพรรคประชาชน ขอใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 236 ประกอบมาตรา 234 วรรคหนึ่ง (1) กล่าวหากรรมการ ป.ป.ช. ด้วยมีเหตุอันควรสงสัยว่า กรรมการ ป.ป.ช. กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายหรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ดังต่อไปนี้
ทำที่ รัฐสภา
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568
@ แนบเอกสาร-หลักฐาน 18 รายการ
เรื่อง ขอใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 236 ประกอบมาตรา 234 วรรคหนึ่ง (1) กล่าวหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ด้วยมีเหตุอันควรสงสัยว่า กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายหรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
กราบเรียน ประธานรัฐสภา
สิ่งที่ส่งมาด้วย
(1) สำเนาบันทึกข้อความสำนักตรวจสอบทรัพย์สินภาคการเมือง ด่วนที่สุด ที่ 009/0937 วันที่ 21 มิถุนายน 2561 เรื่องข้อพิจารณาความเห็นเกี่ยวกับการขออนุมัติตรวจสอบ
ข้อเท็จจริงในต่างประเทศ เรียน เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.
(2) สำเนาเอกสารรายงานการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ครั้งที่ 1054-125/2561 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2561 วาระที่ 3.1 สังกัด สำนักตรวจสอบทรัพย์สินภาคการเมือง เรื่อง
รายงานผลการตรวจสอบยืนยันข้อมูลทรัพย์สินและหนี้สินของ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กรณีเข้ารับตำแหน่ง พร้อมแบบการลงมติของกรรมการ ป.ป.ช.
(3) สำเนาคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ. 224/2566 วันที่ 16 มีนาคม 2566
(4) สำเนาคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 1326/2564 วันที่ 2 พฤษภาคม 2567
(5) สำเนาบันทึกรับมอบเอกสารตามคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 1326/2564 วันที่ 23 เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช 2567
(6) สำเนาหนังสือของนายวีระ สมความคิด ฉบับลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2567
(7) ภาพถ่ายหน้าจอเว็บไซต์สำนักข่าวผู้จัดการออนไลน์ “"วีระ" ขอศาลออกหมายจับ ป.ป.ช. ทั้งคณะ ปมไม่ยอมให้เอกสารจำนวน 3 รายการ ไต่สวนบัญชีทรัพย์สิน "บิ๊กป้อม"” เผยแพร่เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.27 นาฬิกา เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/politics/detail/9670000045411
(8) ซีดีรอมบันทึกคลิปวิดีทัศน์รายการ “LIVE เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand” วันที่
11 กุมภาพันธ์ 2568
(9) เอกสารการถอดเทปรายการ “LIVE เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand” วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568
(10) ซีดีรอมบันทึกคลิปวิดีทัศน์รายการเข้มข่าวค่ำ ในหัวข้อ “เปิดคลิป บ้านวันนอร์ ตกลง"บิ๊กโจ๊ก"ถ่ายจริงเหรอ?” วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568
(11) ภาพถ่ายหน้าจอเว็บไซต์สำนักข่าวอิศรา “”วันนอร์”แจงปมคลิปหลุด ซัด“โจ๊ก”เสียมารยาท ขอพบแต่แอบอัดเสียง” เผยแพร่เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 12.02 นาฬิกา เข้าถึงได้จาก https://www.isranews.org/article/south-news/special-talk/135621-
clipwannor.html
(12) ภาพถ่ายหน้าจอเว็บไซต์สำนักข่าวอิศรา ““อ.วันนอร์” ฉะ “โจ๊ก” เจตนาเลวร้าย แอบอัดเทปหวังต่อรอง “สุชาติ” หรือไม่” เผยแพร่เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 06.00
นาฬิกา เข้าถึงได้จาก https://www.isranews.org/article/south-news/south-slide/135714-wannortalk.html
(13) ซีดีรอมบันทึกคลิปวิดีทัศน์รายการ THE STANDARD NOW ในหัวข้อ “บิ๊กโจ๊ก เล่าเป็นฉากๆ พาไปจริง! ไม่มีเรื่องปักษ์ใต้ฯ มีเรื่องเดียวเท่านั้น” วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568
(14) ภาพถ่ายหน้าจอเว็บไซต์สำนักข่าว pptvhd36 "บิ๊กโจ๊ก" ยอมรับแล้ว เป็นตัวกลางพา "สุชาติ" พบ "วันนอร์" เผยแพร่เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 14.40 นาฬิกา เข้าถึงได้จาก https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3
%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/242892
(15) ภาพถ่ายหน้าจอเว็บไซต์สำนักข่าวอิศรา “คลิป ล็อบบี้ พ่นพิษ ‘วันนอร์-สุชาติ’ สะเทือน ‘ประมุขนิติบัญญัติ-องค์กรตรวจสอบ’” เผยแพร่เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 10.50 นาฬิกา เข้าถึงได้จาก https://www.isranews.org/article/isranews-scoop/135633-politics-41.html
(16) ภาพถ่ายหน้าจอเว็บไซต์สำนักข่าวสยามรัฐ ““นิพิฏฐ์” ออกโรงหนุนปม “บิ๊กโจ๊ก” ปล่อยคลิปเสียง” เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 11.51 นาฬิกา เข้าถึงได้จาก
https://siamrath.co.th/n/601114
(17) ภาพถ่ายหน้าจอเว็บไซต์สำนักข่าวมติชนออนไลน์ “สนธิญา ร้องเปิดไต่สวน ‘สุชาติ’ ปมคลิปพบ ‘วันนอร์’ ชงสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ ปธ.ป.ป.ช” เผยแพร่เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 14.29 นาฬิกา เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/politics/news_5053149
(18) ภาพถ่ายหน้าจอเว็บไซต์สำนักข่าวผู้จัดการออนไลน์ ““เทพไท”แนะจับตาเอฟเฟกต์คลิปหลุด“วันนอร์-สุชาติ” เชื่อมีผู้มีส่วนได้เสีย 2 คน” เผยแพร่เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์
2568 เวลา 09.14 นาฬิกา เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/uptodate/detail/9680000016397
@ กล่าวหา ประธาน-กรรมการ ป.ป.ช.
ข้าพเจ้าสมาชิกรัฐสภารายนามปรากฏตามที่ได้เข้าชื่อท้ายหนังสือนี้ ขอใช้สิทธิเข้าชื่อกล่าวหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติต่อประธานรัฐสภา ด้วยมีเหตุอันควรสงสัยว่า กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายหรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
โดยมีพยานหลักฐานข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อันสมควรให้ประธานรัฐสภาเสนอเรื่องไปยังประธานศาลฎีกาเพื่อตั้งคณะผู้ไต่สวนอิสระจากผู้ซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ เพื่อไต่สวนหาข้อเท็จจริง และดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามนัยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 236 ประกอบมาตรา 234 วรรคหนึ่ง (1) โดยมีรายละเอียดการกล่าวหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1.นายวิทยา อาคมพิทักษ์ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช. ด้วยเหตุครบวาระการดำรงตำแหน่งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 มาตรา 185 ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 12 แต่ยังอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีกรรมการใหม่แทน ตามนัยมาตรา 18 ประกอบมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 กับนายปรีชา เลิศกมลมาศ นายณรงค์ รัฐอมฤต นายสุรศักดิ์ ศรีวิเชียร และพลเอก บุณยวัจน์ เครือหงส์ กรรมการ ป.ป.ช. ที่พ้นจากตำแหน่งแล้ว
กรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่า ในขณะที่บุคคลดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการ ป.ป.ช. มีพฤติการณ์เป็นเจ้าพนักงานของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามมาตรา 172 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 หรือไม่
สืบเนื่องจากกรณีที่มีบุคคลร้องเรียนพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่า พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ จงใจไม่แสดงรายการทรัพย์สินอื่น ประเภทนาฬิกาข้อมือหรู และแหวน จำนวนหลายรายการไว้ในการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีเข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2557 และกรณีเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2557 ซึ่งอยู่ในอำนาจไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
@ 5 กรรมการ ป.ป.ช.ยุติเรื่องแหวนเพชร-นาฬิกาหรู บิ๊กป้อม
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการประชุมครั้งที่ 958-29/2561 ได้พิจารณาเรื่องเสนอขออนุมัติตรวจสอบเชิงลึก กรณีพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ไม่แสดงแหวนเพชรและนาฬิกาหรู โดยที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นยังตรวจสอบข้อเท็จจริงไม่ครบถ้วน โดยมีกรณีที่จะต้องตรวจสอบเพิ่มเติมอีกหลายประเด็น ทั้งในกรณีของพยานบุคคลที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลจากผู้ผลิตนาฬิกา ผู้จำหน่ายนาฬิกา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และจะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า นาฬิกาหรู จำนวน 25 เรือน ผู้ใดเป็นผู้ซื้อ มีหลักฐานการซื้อขายหรือไม่ ชำระเงินด้วยวิธีใด มีหลักฐานการชำระเงินหรือไม่ ประการใด
ที่ประชุมจึงมีมติมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมให้ชัดเจน ครบถ้วนสมบูรณ์เป็นที่ยุติก่อน ซึ่งผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบทรัพย์สินภาคการเมือง สำนักงาน ป.ป.ช. ได้มีความเห็นเสนอกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อนำเรียนประธานกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณานำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาอนุมัติให้สำนักงาน ป.ป.ช. ขอทราบข้อเท็จจริงเป็นหนังสือไปยังผู้ผลิตนาฬิกาหรือผู้จำหน่ายนาฬิกาในต่างประเทศ
โดยมอบหมายให้สำนักตรวจสอบทรัพย์สินภาคการเมืองและสำนักการต่างประเทศเป็นผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงในต่างประเทศโดยประสานขอความร่วมมือกับสำนักงานอัยการสูงสุดในการประสานตามพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 ประสานขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ตลอดจนดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องด้านการต่างประเทศ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาบันทึกข้อความสำนักตรวจสอบทรัพย์สินภาคการเมือง ด่วนที่สุด ที่ 009/0937 วันที่ 21 มิถุนายน 2561 เรื่องข้อพิจารณาความเห็นเกี่ยวกับการขออนุมัติตรวจสอบข้อเท็จจริงในต่างประเทศ เรียน เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เอกสารสิ่งที่ส่งมาด้วย (1)
แต่เมื่อมีการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว ต่อมาในวันที่ 27 ธันวาคม 2561 ในชั้นการลงมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีข้อเท็จจริงปรากฏว่า กรรมการ ป.ป.ช. ฝ่ายเสียงข้างมาก จำนวน 5 เสียง ได้แก่ นายวิทยา อาคมพิทักษ์ นายปรีชา เลิศกมลมาศ นายณรงค์ รัฐอมฤต นายสุรศักดิ์ ศรีวิเชียร และพลเอก บุณยวัจน์ เครือหงส์ ได้ลงมติให้ยุติการตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติม ทั้ง ๆ ที่ในที่ประชุมดังกล่าว กรรมการ ป.ป.ช. จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ พลตำรวจเอก สถาพร หลาวทอง นางสาวสุภา ปิยะจิตติ และนางสุวณา สุวรรณจูฑะ เห็นว่า ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการตรวจสอบยังไม่ครบถ้วนเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้
การใช้ดุลพินิจของกรรมการ ป.ป.ช. ฝ่ายเสียงข้างมาก จำนวน 5 เสียง ได้แก่ นายวิทยา อาคมพิทักษ์ นายปรีชา เลิศกมลมาศ นายณรงค์ รัฐอมฤต นายสุรศักดิ์ ศรีวิเชียร และพลเอก บุณยวัจน์ เครือหงส์ ที่ลงมติว่า ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการตรวจสอบเพียงพอแก่การวินิจฉัยแล้ว โดยที่ยังมิได้แสวงหาข้อเท็จจริงเชิงลึกอันเป็นสาระสำคัญประกอบการใช้ดุลพินิจ อันได้แก่
(1) ขอทราบข้อมูลจากบริษัทผู้ผลิตและผู้จำหน่ายนาฬิกาที่ตั้งอยู่ ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ อิตาลี ออสเตรีย และเขตการปกครองพิเศษฮ่องกง ด้วยวิธีการผ่านผู้ประสานงานกลางตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 ให้สิ้นกระแสความ
(2) ขอทราบข้อมูลจากบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายนาฬิกาที่ตั้งอยู่ ณ ประเทศฝรั่งเศสหรือประเทศจีน ตามช่องทางที่ระบุไว้ในอนุสัญญาหรือสนธิสัญญาระหว่างกันในการขอความร่วมมือทางการทูตตามหลักต่างตอบแทน
(3) ตรวจสอบข้อมูลการใช้บัตรเครดิตของนายปัฐวาท สุขศรีวงศ์ และพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ เพื่อตรวจสอบความเชื่อมโยงระหว่างนาฬิกาทั้ง 16 เรือน กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง
(4) อนุมัติการตรวจสอบเชิงลึกเพื่อตรวจสอบประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามข้อสังเกตของกรรมการ ป.ป.ช. ฝ่ายเสียงข้างน้อย แต่อย่างใด
การกระทำดังกล่าว มีเหตุอันควรสงสัยว่า เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการแสวงหาข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญประกอบการใช้ดุลพินิจวินิจฉัยเรื่องร้องเรียนพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ในการให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ประสานกลางในการส่งคำร้องขอความช่วยเหลือให้ประเทศผู้รับคำร้องขอในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลนาฬิกาจากบริษัทผู้ผลิตและผู้จำหน่ายนาฬิกาที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ
ตลอดจนการดำเนินการอื่นตามข้อสังเกตของกรรมการ ป.ป.ช. เสียงข้างน้อย ให้สิ้นกระแสความ อันเป็นพฤติการณ์อันควรสงสัยว่า การที่ กรรมการ ป.ป.ช. ฝ่ายเสียงข้างมาก จำนวน 5 เสียง ได้แก่ นายวิทยา อาคมพิทักษ์ นายปรีชา เลิศกมลมาศ นายณรงค์ รัฐอมฤต นายสุรศักดิ์ ศรีวิเชียร และพลเอก บุณยวัจน์ เครือหงส์ ลงมติให้ยุติการตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติม เป็นไปเพื่อให้พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้รับประโยชน์จากการไม่ถูกตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานอย่างครบถ้วนเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของนาฬิกา จำนวน 22 เรือน หรือไม่
รายละเอียดข้อเท็จจริงการกระทำเกี่ยวกับการลงมติของนายวิทยา อาคมพิทักษ์ กรรมการ ป.ป.ช. ที่ยังอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในคณะกรรมการ ป.ป.ช. กับนายปรีชา เลิศกมลมาศ นายณรงค์ รัฐอมฤต นายสุรศักดิ์ ศรีวิเชียร และพลเอก บุณยวัจน์ เครือหงส์ กรรมการ ป.ป.ช. ที่พ้นจากตำแหน่งแล้ว เกี่ยวกับการกระทำของบุคคลดังกล่าวในขณะปฏิบัติหน้าที่เป็น กรรมการ ป.ป.ช. ดังนี้
เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2561 ในการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ครั้งที่ 1054-125/2561 นายวิทยา อาคมพิทักษ์ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กับนายปรีชา เลิศกมลมาศ นายณรงค์ รัฐอมฤต นายสุรศักดิ์ ศรีวิเชียร และพลเอก บุณยวัจน์ เครือหงส์ ลงมติในวาระที่ 3.1 เรื่อง รายงานผลการตรวจสอบยืนยันข้อมูลทรัพย์สินและหนี้สินของ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กรณีเข้ารับตำแหน่ง
โดยในประเด็นพิจารณาที่ 1. ในการลงมติว่า “ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการตรวจสอบเพียงพอแก่การพิจารณาวินิจฉัยแล้วหรือไม่ หรือต้องดำเนินการตรวจสอบเพิ่มเติม ประการใด” นั้น นายวิทยา อาคมพิทักษ์ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กับนายปรีชา เลิศกมลมาศ นายณรงค์ รัฐอมฤต นายสุรศักดิ์ ศรีวิเชียร และพลเอก บุณยวัจน์ เครือหงส์ ลงมติว่า “ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการตรวจสอบเพียงพอแก่การพิจารณาวินิจฉัยแล้ว”
และในประเด็นพิจารณาที่ 2. ในการลงมติว่า “พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบ ด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ กรณีเข้ารับตำแหน่ง หรือไม่” นั้น นายวิทยา อาคมพิทักษ์ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กับนายปรีชา เลิศกมลมาศ นายณรงค์ รัฐอมฤต นายสุรศักดิ์ ศรีวิเชียร และพลเอก บุณยวัจน์ เครือหงส์ลงมติเห็นว่า
“... จากข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานที่ปรากฏ จึงยังฟังไม่ได้ว่า พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นเจ้าของนาฬิกา จำนวน 22 เรือน ตามที่ปรากฏเป็นภาพข่าว ดังนั้น การที่ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ มิได้แสดงรายการนาฬิกา จำนวน 22 เรือน ในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน ในกรณีเข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จึงยังไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะรับฟังว่าเป็นการจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ และมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่ามีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินนั้น ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 มาตรา 114... ”
รายละเอียดปรากฏตามสำเนาเอกสารรายงานการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ครั้งที่ 1054-125/2561 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2561 วาระที่ 3.1 สังกัด สำนักตรวจสอบทรัพย์สินภาคการเมือง เรื่อง รายงานผลการตรวจสอบยืนยันข้อมูลทรัพย์สินและหนี้สินของ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กรณีเข้ารับตำแหน่ง พร้อมแบบการลงมติของกรรมการ ป.ป.ช. เอกสารสิ่งที่ส่งมาด้วย (2)
ข้าพเจ้าขอกราบเรียนว่า จากข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานที่กล่าวมา เป็นกรณีอันควรสงสัยว่า การที่นายวิทยา อาคมพิทักษ์ กรรมการ ป.ป.ช. กับนายปรีชา เลิศกมลมาศ นายณรงค์ รัฐอมฤต นายสุรศักดิ์ ศรีวิเชียร และพลเอก บุณยวัจน์ เครือหงส์ ที่ดำรงตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช. ในขณะนั้น ลงมติในประเด็นพิจารณาที่ 1. ว่า “ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการตรวจสอบเพียงพอแก่การพิจารณาวินิจฉัยแล้ว”
อันเป็นการลงมติ ที่ส่งผลให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ยุติการตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติม โดยมิได้ดำเนินการใช้กระบวนการขั้นตอนตามพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 ในการให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ประสานกลางในการส่งคำร้องขอความช่วยเหลือให้ประเทศผู้รับคำร้องขอในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลนาฬิกาจากบริษัทผู้ผลิตและผู้จำหน่ายนาฬิกาที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ ตลอดข้อมูลทางการเงินของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ และนายปัฐวาท สุขศรีวงศ์ ให้สิ้นกระแสความ นั้น
กรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่า การยุติการตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมดังกล่าวนี้ เป็นไปเพื่อให้ไม่มีพยานหลักฐานเพิ่มเติมอันอาจเป็นผลร้ายต่อพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ทำให้พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้รับประโยชน์จากการไม่ถูกตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานอย่างครบถ้วนเกี่ยวกับนาฬิกา จำนวน 22 เรือน ตามที่ถูกร้องเรียน ส่งผลให้ในการลงมติในประเด็นพิจารณาที่ 2. นายวิทยา อาคมพิทักษ์ นายปรีชา เลิศกมลมาศ นายณรงค์ รัฐอมฤต นายสุรศักดิ์ ศรีวิเชียร และพลเอก บุณยวัจน์ เครือหงส์ กรรมการ ป.ป.ช. ฝ่ายเสียงข้างมาก สามารถอ้างได้ว่า อาศัยจากข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเท่าที่ปรากฏ จึงฟังไม่ได้ว่า พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นเจ้าของนาฬิกา จำนวน 22 เรือน หรือไม่ ทั้งที่ หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการตรวจสอบต่อไปอย่างเต็มที่ให้สิ้นกระแสความ ให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของตนแล้ว ย่อมส่งผลให้ได้มาซึ่งข้อมูลพยานหลักฐานเพิ่มเติม ประกอบการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้เป็นไปโดยรอบคอบ แต่นายวิทยา อาคมพิทักษ์ นายปรีชา เลิศกมลมาศ นายณรงค์ รัฐอมฤต นายสุรศักดิ์ ศรีวิเชียร และพลเอก บุณยวัจน์ เครือหงส์ กรรมการ ป.ป.ช. หาได้กระทำเช่นนั้นไม่
@ ขอตั้งคณะผู้ไต่สวนอิสระ
กรณีจึงมีเหตุอันควรสงสัยว่า นายวิทยา อาคมพิทักษ์ นายปรีชา เลิศกมลมาศ นายณรงค์ รัฐอมฤต นายสุรศักดิ์ ศรีวิเชียร และพลเอก บุณยวัจน์ เครือหงส์ กรรมการ ป.ป.ช. ฝ่ายเสียงข้างมาก กระทำการตามที่ถูกกล่าวหา หรือไม่ โดยขอให้ประธานรัฐสภาเสนอเรื่องไปยังประธานศาลฎีกาเพื่อแต่งตั้งคณะผู้ไต่สวนอิสระ ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 237 ประกอบมาตรา 49 และมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 เพื่อดำเนินการไต่สวนหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของนายวิทยา อาคมพิทักษ์ กรรมการ ป.ป.ช. ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในปัจจุบัน และนายปรีชา เลิศกมลมาศ นายณรงค์ รัฐอมฤต นายสุรศักดิ์ ศรีวิเชียร และพลเอก บุณยวัจน์ เครือหงส์ กรรมการ ป.ป.ช. ที่พ้นจากตำแหน่งแล้ว
ซึ่งอยู่ใต้อำนาจไต่สวนของคณะผู้ไต่สวนอิสระ ตามนัยมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 ที่กำหนดให้คณะผู้ไต่สวนอิสระมีหน้าที่และอำนาจเช่นเดียวกับคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยอนุโลม ซึ่งตามมาตรา 59 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 กำหนดให้การกล่าวหาเจ้าพนักงานของรัฐ ให้กล่าวหาในขณะที่ผู้ถูกร้องเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ หรือพ้นจากการเป็นเจ้าพนักงานของรัฐไม่เกินห้าปี แต่ไม่ตัดอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่จะยกคำกล่าวหาที่ได้มีการกล่าวหาไว้แล้วหรือกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยขึ้นไต่สวนได้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่ผู้ถูกร้องพ้นจากการเป็นเจ้าพนักงานของรัฐหรือพ้นจากตำแหน่งดังกล่าวแล้วแต่กรณี
ด้วยเหตุนี้ ถึงแม้ว่านายปรีชา เลิศกมลมาศ นายณรงค์ รัฐอมฤต นายสุรศักดิ์ ศรีวิเชียร และพลเอก บุณยวัจน์ เครือหงส์ เป็นกรรมการ ป.ป.ช. ที่พ้นจากตำแหน่งแล้ว แต่เป็นการพ้นจากตำแหน่งไม่เกิน 5 ปีนับจนถึงวันที่ข้าพเจ้าเข้าชื่อยื่นหนังสือฉบับนี้ ต่อประธานรัฐสภา หรือไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช. ที่คณะผู้ไต่สวนอิสระจะยกคำกล่าวหาที่ได้มีการกล่าวหาไว้แล้วหรือกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยขึ้นไต่สวนได้ แล้วแต่กรณี จึงเป็นกรณีที่บุคคลดังกล่าวอยู่ในข่ายที่จะดำเนินการกล่าวหาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 236 ประกอบมาตรา 234 (1) ในการนี้ ข้าพเจ้าขอให้คณะผู้ไต่สวนอิสระ ไต่สวนหาข้อเท็จจริงและดำเนินคดี ดังต่อไปนี้
1.1 ไต่สวน นายวิทยา อาคมพิทักษ์ นายวิทยา อาคมพิทักษ์ นายปรีชา เลิศกมลมาศ นายณรงค์ รัฐอมฤต นายสุรศักดิ์ ศรีวิเชียร และพลเอก บุณยวัจน์ เครือหงส์ ว่า มีพฤติการณ์เป็นเจ้าพนักงานของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามมาตรา 172 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561
จากการที่นายวิทยา อาคมพิทักษ์ นายปรีชา เลิศกมลมาศ นายณรงค์ รัฐอมฤต นายสุรศักดิ์ ศรีวิเชียร และพลเอก บุณยวัจน์ เครือหงส์ ใช้อำนาจหน้าที่ในฐานะกรรมการ ป.ป.ช. ลงมติในการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ครั้งที่ 1054-125/2561 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2561 ในวาระที่ 3.1 เรื่อง รายงานผลการตรวจสอบยืนยันข้อมูลทรัพย์สินและหนี้สินของ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กรณีเข้ารับตำแหน่ง ว่า “ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการตรวจสอบเพียงพอแก่การพิจารณาวินิจฉัยแล้ว”
อันเป็นการลงมติที่ส่งผลให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ยุติการตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติม โดยไม่ดำเนินการใช้กระบวนการขั้นตอนตามพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 และดำเนินการให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญประกอบการใช้ดุลพินิจตามวิสัยของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งหน้าที่กรรมการ ป.ป.ช. อันเป็นการกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 234 (1) ประกอบมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 หรือไม่
1.2 ไต่สวนว่า การที่ นายวิทยา อาคมพิทักษ์ นายปรีชา เลิศกมลมาศ นายณรงค์ รัฐอมฤต นายสุรศักดิ์ ศรีวิเชียร และพลเอก บุณยวัจน์ เครือหงส์ ลงมติในการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ครั้งที่ 1054-125/2561 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2561 ในวาระที่ 3.1 เรื่อง รายงานผลการตรวจสอบยืนยันข้อมูลทรัพย์สินและหนี้สินของ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กรณีเข้ารับตำแหน่ง ว่า “ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการตรวจสอบเพียงพอแก่การพิจารณาวินิจฉัยแล้ว”
อันส่งผลให้เป็นการยุติการตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติม โดยไม่ดำเนินการใช้กระบวนการขั้นตอนตามพระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535 และดำเนินการให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญประกอบการใช้ดุลพินิจตามวิสัยของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งหน้าที่กรรมการ ป.ป.ช. เป็นการกระทำเข้าข่ายการเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความยุติธรรมโดยไม่หวั่นไหวต่ออิทธิพล กระแสสังคม หรือแรงกดดันอันมิชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ อันอาจเป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561 หมวด 1 มาตรฐานจริยธรรมอันเป็นอุดมการณ์ ข้อ 8 ที่กำหนดว่า “ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เพื่อตนเองหรือผู้อื่น หรือมีพฤติการณ์ที่รู้เห็นหรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตนแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ”
ที่เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง ตามข้อ 27 แห่งมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561 อันเป็นการกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายหรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง อันเป็นกรณีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 234 (1) ประกอบมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 หรือไม่
@ ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครอง
ข้อ 2.กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่ดำรงตำแหน่งในห้วงเวลาตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2566 ถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 เฉพาะรายที่มีมติไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครอง ตามที่จะบรรยายพฤติการณ์ต่อไป (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “กรรมการ ป.ป.ช. ที่ดำรงตำแหน่งในห้วงเวลาตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2566 ถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2567”) มีพฤติการณ์ที่เป็นเหตุอันควรสงสัยว่า กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายหรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงหรือไม่
สืบเนื่องจากกรณีที่มีบุคคลกล่าวหาร้องเรียนพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่า จงใจไม่แสดงรายการทรัพย์สินอื่น ประเภทนาฬิกาข้อมือหรู และแหวน จำนวนหลายรายการไว้ในการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีเข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2557 และกรณีเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2557 นั้น
ต่อมานายวีระ สมความคิด ซึ่งเป็นบุคคลหนึ่งที่ขอให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ กรณีจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ โดยไม่แสดงว่ามีนาฬิกาข้อมือและแหวนประดับมีค่าหลายรายการ นายวีระ สมความคิด ได้ร้องขอให้สำนักงาน ป.ป.ช. และคณะกรรมการ ป.ป.ช. เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการเกี่ยวกับสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวจำนวน 3 รายการ ได้แก่ 1. รายงานการแสวงหาข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานเอกสารทั้งหมด 2. ความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ทุกคน ที่รับผิดชอบในเรื่องกล่าวหาดังกล่าว และ 3. รายงานการประชุมของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
ต่อมา คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติไม่ให้เปิดเผยรายงานการประชุมและบันทึกเสนอรายงานผลการตรวจสอบและเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้อง เป็นเหตุให้นายวีระ สมความคิด ใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ซึ่งในเวลาต่อมา คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดิน และการบังคับใช้กฎหมาย มีมติที่ สค 333/2562 สั่งให้สำนักงาน ป.ป.ช. และ คณะกรรมการ ป.ป.ช. เปิดเผยข้อมูลข่าวสารให้แก่นายวีระ สมความคิด
แต่ปรากฏว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่ปฏิบัติตาม เป็นเหตุให้นายวีระ สมความคิด นำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ 2605/2562 ระหว่าง นายวีระ สมความคิด ผู้ฟ้องคดี กับ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่ 1 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่ 2 ผู้ถูกฟ้องคดี จากกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการที่ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ขอให้ดำเนินการไต่สวนพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ กรณีจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ โดยไม่แสดงว่ามีนาฬิกาข้อมือและแหวนประดับมีค่าหลายรายการ ผู้ฟ้องคดีมีหนังสือขอข้อมูลข่าวสารของราชการเกี่ยวกับสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวจำนวน 3 รายการ คือ
1. รายงานการแสวงหาข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานเอกสารทั้งหมด 2. ความเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ทุกคน ที่รับผิดชอบในเรื่องกล่าวหาดังกล่าว และ 3. รายงานการประชุมของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 พิจารณาแล้วมีมติไม่ให้เปิดเผยรายงานการประชุมและบันทึกเสนอรายงานผลการตรวจสอบและเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต่อมา ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 1326/2564 พิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเปิดเผยข้อมูลข่าวสารรายการที่ 1 รายการที่ 2 เฉพาะความเห็นของเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่เสนอประกอบการพิจารณาของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และรายการที่ 3 ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดี ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด ต่อมา นายวีระ สมความคิด ผู้ฟ้องคดี ได้อุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลปกครองสูงสุด เป็นคดีหมายเลขดำที่ อ. 789/2564
โดยขอให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นเป็นให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการทั้ง 3 รายการตามคำฟ้องพร้อมสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องแก่ผู้ฟ้องคดี โดยต่อมา เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่ อ. 224/2566 ระหว่าง นายวีระ สมความคิด ผู้ฟ้องคดี กับ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่ 1 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่ 2 ผู้ถูกฟ้องคดี โดยศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองเปิดเผยข้อมูลข่าวสารทั้งสามรายการ ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดิน และการบังคับใช้กฎหมาย ที่ สค 333/2562 แก่ผู้ฟ้องคดี โดยให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารทั้งสามรายการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา รายละเอียดปรากฏตามสำเนาคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ. 224/2566 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2566 เอกสารสิ่งที่ส่งมาด้วย (3)
แต่ปรากฏว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด นายวีระ สมความคิด จึงร้องต่อศาลปกครองกลางขอให้ศาลมีคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครอง ในคดีระหว่าง นายวีระ สมความคิด ผู้ฟ้องคดี กับ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่ 1 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่ 2 ผู้ถูกฟ้องคดี
ต่อมา ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 ศาลปกครองกลาง ในคดีหมายเลขแดงที่ 1326/2564 ได้มีคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครอง ในคดีระหว่าง นายวีระ สมความคิด ผู้ฟ้องคดี กับ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่ 1 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่ 2 ผู้ถูกฟ้องคดี เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร โดยศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 1326/2564 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 โดยความตอนหนึ่งเกี่ยวกับพฤติกรรมของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ว่า
“... พฤติการณ์ทั้งหมดของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองแสดงให้เห็นว่ามิได้มีความตั้งใจที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดให้ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนดในคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ. 224/2566 จึงเห็นว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองให้ถูกต้องครบถ้วนและล่าช้าเกินสมควร โดยไม่มีเหตุอันสมควร ...”
และมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ. 224/2566 ให้ถูกต้องครบถ้วนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่งนี้ รายละเอียดปรากฏตามสำเนาคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 1326/2564 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เอกสารสิ่งที่ส่งมาด้วย (4)
ต่อมา เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 สำนักงาน ป.ป.ช. ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ปช 0029/2419 ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 แจ้งให้นายวีระ สมความคิด ไปรับข้อมูลข่าวสารตามคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 1326/2564 ณ สำนักงาน ป.ป.ช. ภายในวันที่ 23 พฤษภาคม 2567
โดยเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 นายวีระ สมความคิด ผู้ฟ้องคดี ไปรับเอกสาร กลับพบว่า สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ทำการคาดดำทับข้อความปกปิดจำนวนมากในเอกสารที่ส่งมอบให้นายวีระ สมความคิด รายละเอียดปรากฏตามสำเนาบันทึกรับมอบเอกสารตามคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 1326/2564 วันที่ 23 เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช 2567 เอกสารสิ่งที่ส่งมาด้วย (5) ซึ่งนายวีระ สมความคิด เห็นว่า ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ. 224/2566 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2566 และคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 1326/2564 นั้น มิได้พิพากษาหรือสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองคาดดำทับข้อความปกปิดได้ แต่อย่างใด
อันเป็นเหตุให้ต่อมา เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 นายวีระ สมความคิด ได้ทำหนังสือถึงผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ขอให้พิจารณาส่งเรื่องให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งเรื่องให้ประธานศาลฎีกาพิจารณาการร้องขอให้ไต่สวน กรณีกรรมการ ป.ป.ช. ทุจริตต่อหน้าที่ ใช้อำนาจขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือ ฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง รายละเอียดปรากฎตามสำเนาหนังสือของนายวีระ สมความคิด ฉบับลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 เอกสารสิ่งที่ส่งมาด้วย (6)
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 นายวีระ สมความคิด ยังได้ไปยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง ขอให้ศาลปกครอง ออกหมายจับผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมากักขังไว้ จนกว่าจะปฏิบัติตามคำพิพากษาและคำบังคับของศาล ในคดีที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง ไม่ยอมให้เอกสารจำนวน 3 รายการ แก่นายวีระ สมความคิด รายละเอียดปรากฏตามภาพถ่ายหน้าจอเว็บไซต์สำนักข่าวผู้จัดการออนไลน์ “"วีระ" ขอศาลออกหมายจับ ป.ป.ช. ทั้งคณะ ปมไม่ยอมให้เอกสารจำนวน 3 รายการ ไต่สวนบัญชีทรัพย์สิน "บิ๊กป้อม"” เผยแพร่เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.27 นาฬิกา เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/politics/detail/9670000045411 เอกสารสิ่งที่ส่งมาด้วย (7)
@ ชง คณะผู้ไต่สวนอิสระ ปม ทุจริตต่อหน้าที่
ข้าพเจ้าขอกราบเรียนว่า จากข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานที่กล่าวมา เป็นกรณีอันควรสงสัยว่า การที่ กรรมการ ป.ป.ช. ที่ดำรงตำแหน่งในห้วงเวลาตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2566 ถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 จงใจฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ. 224/2566 ที่พิพากษาว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ จากการที่ไม่เปิดเผยรายงานการประชุมและบันทึกเสนอรายงานผลการตรวจสอบและเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้อง ให้นายวีระ สมความคิด แม้กระทั่งต่อมา ศาลปกครองกลาง ในคดีหมายเลขแดงที่ 1326/2564 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 ได้มีคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ. 224/2566 แต่สำนักงาน ป.ป.ช. กลับทำการคาดดำทับข้อความปกปิดจำนวนมากในเอกสารที่ส่งมอบให้นายวีระ สมความคิด อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ. 224/2566 และคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 1326/2564 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 ที่คำพิพากษาและคำสั่งดังกล่าวไม่ได้สั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองคาดดำทับข้อความปกปิดได้ แต่อย่างใด
จึงมีเหตุอันควรสงสัยว่า กรรมการ ป.ป.ช. ดังกล่าว กระทำการตามที่ถูกกล่าวหา โดยขอให้ประธานรัฐสภาเสนอเรื่องไปยังประธานศาลฎีกาเพื่อแต่งตั้งคณะผู้ไต่สวนอิสระ ให้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 237 ประกอบมาตรา 49 และมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 เพื่อดำเนินการไต่สวนหาข้อเท็จจริงกรรมการ ป.ป.ช. ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในปัจจุบัน และกรรมการ ป.ป.ช. ที่พ้นจากตำแหน่งแล้ว ที่ยังอยู่ใต้อำนาจไต่สวนของคณะผู้ไต่สวนอิสระ ตามนัยมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 ที่กำหนดให้คณะผู้ไต่สวนอิสระมีหน้าที่และอำนาจเช่นเดียวกับคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยอนุโลม ซึ่งตามนัยมาตรา 59 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 โดยให้คณะผู้ไต่สวนอิสระ ไต่สวนหาข้อเท็จจริงและดำเนินคดี ดังต่อไปนี้
2.1 ไต่สวนว่า กรรมการ ป.ป.ช. ที่ดำรงตำแหน่งในห้วงเวลาตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2566 ถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 ได้แก่ (1) พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ (2) นายณรงค์ รัฐอมฤต (3) นางสาวสุภา ปิยะจิตติ (4) นายวิทยา อาคมพิทักษ์ (5) นางสุวณา สุวรรณจูฑะ (6) นายณัฐจักร ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา (7) นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข (8) นายเอกวิทย์ วัชชวัลคุ (9) นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ รายใด จงใจฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ. 224/2566 ที่พิพากษาว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ จากการที่ไม่เปิดเผยรายงานการประชุมและบันทึกเสนอรายงานผลการตรวจสอบและเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้อง ให้นายวีระ สมความคิด และไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 1326/2564 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 ที่สั่งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ. 224/2566
อันเป็นการกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ จงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ละเว้นการปฏิบัติในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการหรือสิทธิอื่นของนายวีระ สมความคิด ในการปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกระบวนการทำหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และสำนักงาน ป.ป.ช. ที่เกี่ยวข้องกับการไต่สวนกรณี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ถูกกล่าวหาว่า จงใจไม่แสดงรายการทรัพย์สินอื่น ประเภทนาฬิกาข้อมือหรู และแหวน จำนวนหลายรายการไว้ในการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีเข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2557 และกรณีเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2557
2.2 สืบเนื่องจากข้อ 2.1 หากไต่สวนแล้วพบว่า กรรมการ ป.ป.ช. ที่ดำรงตำแหน่งในห้วงเวลาตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2566 ถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 รายใด จงใจฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ. 224/2566 ที่พิพากษาว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ จากการที่ไม่เปิดเผยรายงานการประชุมและบันทึกเสนอรายงานผลการตรวจสอบและเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้อง ให้นายวีระ สมความคิด และไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 1326/2564 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 ย่อมเป็นเหตุอันควรสงสัยว่า กรรมการ ป.ป.ช. ที่ดำรงตำแหน่งในห้วงเวลาตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2566 ถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 รายนั้น กระทำการอันเป็นการกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ จงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ละเว้นการปฏิบัติในตำแหน่งหรือหน้าที่ ใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการหรือสิทธิอื่นของนายวีระ สมความคิด และฝ่าฝืนต่อมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561 ดังต่อไปนี้
2.2.1 กรรมการ ป.ป.ช. ที่ดำรงตำแหน่งในห้วงเวลาตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2566 ถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 เฉพาะรายที่มีมติไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครอง ไม่ยึดมั่นและธำรงไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เนื่องจากศาลปกครองเป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจตุลาการ อันเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตยขององค์กรตามรัฐธรรมนูญภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดให้ศาลปกครองเป็นองค์กรศาลตามหมวด 10 ส่วนที่ 3 ประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 3 วรรคสอง กำหนดให้ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม
ดังนั้น การที่กรรมการ ป.ป.ช. ที่ดำรงตำแหน่งในห้วงเวลาตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2566 ถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 รายใด ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา คำสั่งของศาลปกครอง จึงเป็นการกระทำอันอาจฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561 หมวด 1 มาตรฐานจริยธรรมอันเป็นอุดมการณ์ ข้อ 5 ที่กำหนดว่า “ต้องยึดมั่นและธำรงไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”
อันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง ตามข้อ 27 แห่งมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561 ซึ่งเข้าข่ายเป็นการกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายหรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 234 (1)
2.2.2 ในกรณีที่การจงใจละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ และการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ. 224/2566 และคำสั่งศาลปกครองกลาง ในคดีหมายเลขแดงที่ 1326/2564 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 ตามที่บรรยายมาข้างต้น คณะผู้ไต่สวนอิสระ ไต่สวนได้ความว่า กรรมการ ป.ป.ช. ที่ดำรงตำแหน่งในห้วงเวลาตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2566 ถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 รายใด จงใจปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกระบวนการทำหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และสำนักงาน ป.ป.ช. ที่เกี่ยวข้องกับการไต่สวนกรณี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่อาจมีกรณีกรรมการ ป.ป.ช. ใช้อำนาจหน้าที่ลงมติให้ยุติการตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติม โดยมิชอบด้วยกฎหมายเพื่อช่วยเหลือพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ให้ไม่ถูกตรวจสอบอย่างเต็มที่ให้สิ้นกระแสความ ย่อมเป็นการกระทำอันอาจฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561 หมวด 1 มาตรฐานจริยธรรมอันเป็นอุดมการณ์ ข้อ 8 ที่กำหนดว่า “ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เพื่อตนเองหรือผู้อื่น หรือมีพฤติการณ์ที่รู้เห็นหรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตนแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ”
อันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง ตามข้อ 27 แห่งมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561 ซึ่งเข้าข่ายเป็นการกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายหรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง อันเป็นกรณีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 234 (1) ประกอบมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561
2.2.3 การที่กรรมการ ป.ป.ช. ที่ดำรงตำแหน่งในห้วงเวลาตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2566 ถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2567 รายใด ไม่เปิดเผยรายงานการประชุมและบันทึกเสนอรายงานผลการตรวจสอบและเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้อง ให้แก่นายวีระ สมความคิด ตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ. 224/2566 และแม้กระทั่งต่อมา ศาลปกครองกลาง ในคดีหมายเลขแดงที่ 1326/2564 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 ได้มีคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ. 224/2566
แต่สำนักงาน ป.ป.ช. กลับทำการคาดดำทับข้อความปกปิดจำนวนมากในเอกสารที่ส่งมอบให้นายวีระ สมความคิด อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำบังคับของศาลปกครองกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 1326/2564 ที่คำสั่งดังกล่าวไม่ได้สั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองคาดดำทับข้อความปกปิดได้ แต่อย่างใด นั้น เข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลัก ตามหมวด 2 ในข้อ 15 ที่กำหนดว่า “ให้ข้อมูลข่าวสารตามข้อเท็จจริงแก่ประชาชนหรือสื่อมวลชนอันอยู่ในความรับผิดชอบของตน ถูกต้องครบถ้วนและไม่บิดเบือน”
โดยเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงเจตนาที่จะขัดขวางกระบวนการการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในการตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อันเป็นความมุ่งหมายและเจตนารมย์หลักประการหนึ่งของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งก่อผลความเสียหายร้ายแรงกระทบต่อสิทธิของประชาชนอย่างยิ่ง อันถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมในหมวด 2 ที่มีลักษณะร้ายแรง ตามข้อ 27 แห่งมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561 ซึ่งเข้าข่ายเป็นการกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ จงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ละเว้นการปฏิบัติในตำแหน่งหรือหน้าที่ ใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการหรือสิทธิอื่นของนายวีระ สมความคิด และฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง อันเป็นกรณีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 234 (1)
@ ถอดเสียงคลิปหลุด ประธาน ป.ป.ช.
ข้อ 3.นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีเหตุอันควรสงสัยว่า กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง สืบเนื่องจากกรณีที่ปรากฏการรายงานข่าวจากสำนักข่าวต่าง ๆ เกี่ยวกับนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตั้งแต่เมื่อประมาณวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568 เป็นต้นมาว่า นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข และ พลตำรวจเอก สุรเชชษฐ์ หักพาล อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เข้าพบนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา โดยสื่อมวลชนได้เผยแพร่คลิปวิดิโอบันทึกเหตุการณ์การสนทนาดังกล่าว โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568 ช่วงเช้า รายการ “LIVE เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand” เผยแพร่คลิปวิดีทัศน์ภาพและเสียงสนทนาของบุคคลกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีการสนทนาตอนหนึ่งดังต่อไปนี้
บุคคลที่ 1 : สวัสดีครับท่าน ก็เป็นห่วงเรื่องคำร้อง
บุคคลที่ 2 : ผมก็ ผมให้เจ้าหน้าที่เขาดู เขาดูแล้ว เขาจึงขอความประสงค์ที่จะทำให้ ประโยชน์เกื้อกัน เข้ามาให้หมด แล้วเสร็จแล้วเขาจะให้ ให้ทำหนังสือถึงโจ๊กว่ามีข้อบกพร่อง
บุคคลที่ 1 : ครับผม
บุคคลที่ 2 : มีเท่าที่เขาดูว่ามันมีช่อง ช่องโหว่ที่จะตีตกได้ ตอนแรกเคยมีคนไปใช้ แล้วมาถามให้แสดงมาใหม่
บุคคลที่ 1 : ไม่มีครับ
บุคคลที่ 2 : ไม่มีหรอ
บุคคลที่ 1 : งั้นไม่ตรงข้อมูลว่า มีตำแหน่งใหม่ ๆ แล้วก็เคยตกทีนึง เพราะทำนองนี้ผมไม่แน่ใจ เขาจะหา และจะทำให้พบว่า ความไม่สมบูรณ์ของคำร้อง
รายละเอียดปรากฏตามซีดีรอมบันทึกคลิปวิดีทัศน์รายการ “LIVE เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand” วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568 สิ่งที่ส่งมาด้วย (8) และเอกสารการถอดเทปรายการ “LIVE เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand” วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568 เอกสารสิ่งที่ส่งมาด้วย (9)
ต่อมา เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 รายการเข้มข่าวค่ำ ในหัวข้อ “เปิดคลิป บ้านวันนอร์ ตกลง"บิ๊กโจ๊ก"ถ่ายจริงเหรอ?” ทางช่องยูทูป PPTV HD 36 ได้เผยแพร่คลิปวิดีทัศน์ภาพและเสียงสนทนาของนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ขณะดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ ป.ป.ช. กับนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา โดยมีความยาวประมาณ 3 นาที รายละเอียดปรากฏตามซีดีรอมบันทึกคลิปวิดีทัศน์รายการเข้มข่าวค่ำ ในหัวข้อ “เปิดคลิป บ้านวันนอร์ ตกลง"บิ๊กโจ๊ก"ถ่ายจริงเหรอ?” วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 สิ่งที่ส่งมาด้วย (10)
โดยปรากฏในเวลาต่อมาว่า นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับกรณีที่รายการ “LIVE เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand” เผยแพร่คลิปวิดีทัศน์ภาพและเสียงสนทนาของบุคคลกลุ่มหนึ่งว่า กรณีดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่ พลตำรวจเอก สุรเชชษฐ์ หักพาล อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พานายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ขณะดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ ป.ป.ช. เข้ามาพบตนที่บ้านพัก ซึ่งในการพบกันของบุคคลดังกล่าว นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา กล่าวว่า มีการพูดคุยเรื่องการที่ พลตำรวจเอก สุรเชชษฐ์ หักพาล ขอถอนเรื่องร้องเรียนกล่าวหานายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข รายละเอียดปรากฏตามภาพถ่ายหน้าจอเว็บไซต์สำนักข่าวอิศรา “”วันนอร์”แจงปมคลิปหลุด ซัด“โจ๊ก”เสียมารยาท ขอพบแต่แอบอัดเสียง” เผยแพร่เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 12.02 นาฬิกา เข้าถึงได้จาก https://www.isranews.org/article/south-news/special-talk/135621-clipwannor.html เอกสารสิ่งที่ส่งมาด้วย (11) และภาพถ่ายหน้าจอเว็บไซต์สำนักข่าวอิศรา ““อ.วันนอร์” ฉะ “โจ๊ก” เจตนาเลวร้าย แอบอัดเทปหวังต่อรอง “สุชาติ” หรือไม่” เผยแพร่เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 06.00 นาฬิกา เข้าถึงได้จาก https://www.isranews.org/article/south-news/south-slide/135714-wannortalk.html เอกสารสิ่งที่ส่งมาด้วย (12)
ต่อมา เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 รายการ THE STANDARD NOW ในหัวข้อ “บิ๊กโจ๊ก เล่าเป็นฉากๆ พาไปจริง! ไม่มีเรื่องปักษ์ใต้ฯ มีเรื่องเดียวเท่านั้น” ทางช่องยูทูป THE STANDARD เผยแพร่การสัมภาษณ์ พลตำรวจเอก สุรเชชษฐ์ หักพาล โดยมีเนื้อหาตอนหนึ่งที่พลตำรวจเอก สุรเชชษฐ์ หักพาล ดังนี้
“เรื่องนี้มีอยู่สามคน คนที่หนึ่ง คนที่อนุญาตให้ไปพบ คนที่สองคือคนที่ได้รับอนุญาตให้ไปพบ คนที่สามคือคนที่พาไปพบ มีอยู่แค่นี้ ทีนี้ ถามว่า สามคนนี้จะได้อะไรบ้าง มีแค่นี้นะ ถามว่าสามคนนี้จะได้ประโยชน์อะไร คนที่หนึ่ง อ่า ทีนี้ ผมไล่ คนที่ได้ประโยชน์สูงสุดคือคนที่สอง ที่ไม่พูดเลย คนที่สองไปขอความช่วยเหลือเรื่องคดีของตนเอง เพราะฉะนั้นคนที่สองได้ประโยชน์สูงสุด คนที่หนึ่งนะครับ ได้บุญคุณจากการช่วยเหลือคดี ได้เครดิต ได้เฟเวอร์ แล้วก็ได้ทำให้ตามที่ผู้ใหญ่สั่งมาว่าให้ยุติเรื่องนี้ ส่วนที่สามคนพาไปได้อะไร ลดความขัดแย้ง เพราะผู้ใหญ่บอกว่า ไอ่โจ๊กเนี่ย สร้างความขัดแย้งเยอะเหลือเกิน ตรวจสอบเขาไปทั่ว คนที่สามได้อะไรครับ ก็พยายามประคอง นะครับไม่สร้างความขัดแย้งกับผู้ใหญ่ แต่ประเด็นหลักสำคัญผมต้องเรียนว่า
ผมพยายามประคองไม่สร้างความขัดแย้งกับผู้ใหญ่แล้วก็สิ่งที่ผมจะได้คือ ก็จะไม่ขัดแย้งกับบุคคลที่พาไปอีกต่อไป... ผมไม่เอ่ยชื่อ เดี๋ยวผมพูดให้จบนิดหนึ่ง ทีนี้ ผมอย่างนี้นะครับ ถามว่าในเรื่องนี้นะครับ นะ คนที่ได้ประโยชน์สูงสุดคือคนที่นิ่งเงียบ คนที่ได้ประโยชน์คนที่สอง ทีนี้ผมถามต่อ เรื่องการไปพบไม่มีหรอกครับไปพบเรื่องสมาคมชาวปักษ์ใต้ ไปพบเรื่อง เอ่อ อะไรนะ ไปพบเรื่องเล่นการเมือง มีเรื่องเดียว แล้วรู้กันหมดอยู่แล้วทั้งสามคนว่าไปเรื่องอะไร นะครับ นะ แล้วผมบอกเลยว่ามีการนัดหมายเรียบร้อยกันหมดแล้วมีการอนุญาตให้พบ ถ้าไม่อนุญาตให้พบ รับรองว่าไม่มีทางไปพบได้ ไม่มีทางพาใครไปพบได้ นะ ... มีผู้ใหญ่บอกผมมาว่า เอ๊ะ โจ๊ก เรื่องนี้ถอนได้มั้ย นะครับ เพราะว่ากรรมการท่านนี้ ท่านจะเข้าคัดเลือกเป็นประธาน ป.ป.ช. ผมก็บอกว่า ท่าน ผมถอนไม่ได้ ถ้าผมถอนคือหักหลังประชาชนสองหมื่นห้าพันคน นะครับ เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ ก็เกิด เมื่อผมถอนไม่ได้ ก็เกิดมีการนัดกัน นะครับ ... ”
รายละเอียดปรากฏตามซีดีรอมบันทึกคลิปวิดีทัศน์รายการ THE STANDARD NOW ในหัวข้อ “บิ๊กโจ๊ก เล่าเป็นฉากๆ พาไปจริง! ไม่มีเรื่องปักษ์ใต้ฯ มีเรื่องเดียวเท่านั้น” วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 สิ่งที่ส่งมาด้วย (13) ตั้งแต่นาทีที่ 07.00 - 08.40, นาทีที่ 08.50 – 09.40 และนาทีที่ 12.15 – 12.45 และต่อมาในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักข่าว pptvhd36 เผยแพร่รายงานข่าวเรื่อง ““บิ๊กโจ๊ก" ยอมรับแล้ว เป็นตัวกลางพา "สุชาติ" พบ "วันนอร์"” โดยมีเนื้อหาเป็นการรายงานข่าวการให้สัมภาษณ์จาก พลตำรวจเอก สุรเชชษฐ์ หักพาล ว่า ตนเป็นตัวกลางพานายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข เข้าพบนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา จึงมีบุคคลจำนวน 3 คน อยู่ในเหตุการณ์ โดยสำนักข่าว pptvhd36 ได้รายงานเกี่ยวกับการให้สัมภาษณ์ของ พลตำรวจเอก สุรเชชษฐ์ หักพาล เกี่ยวกับรายละเอียดเกี่ยวกับการพูดคุยของบุคคลทั้งสามคนในคลิปวิดิโอดังกล่าว ว่า
“.."บิ๊กโจ๊ก" กล่าวว่า ในเรื่องนี้มีคนอยู่แค่ 3 คน คนที่ 1 อ.วันนอร์ พูดความจริงแค่ครึ่งเดียว คนที่ 2 ประธานสุชาติ ไม่พูดอะไรเลย นิ่ง คนที่ 3 คือ ตัวบิ๊กโจ๊กเอง
ประเด็นแรก บิ๊กโจ๊กขอไม่เอ่ยชื่อคนที่ 1 และ 2 เนื่องจากว่ากังวลถูกฟ้องหมิ่นประมาท แต่เข้าใจได้ว่าคนที่ 1 และ 2 คือใคร ซึ่งถ้าทั้ง 2 คนอนุญาตให้พูด บิ๊กโจ๊กบอกว่า ก็พร้อมจะเปิดเผยความจริงทั้งหมด
ประเด็นที่ 2 บิ๊กโจ๊ก ยอมรับว่าเป็นคนกลางที่พาให้ทั้ง 2 คนมาพบกัน โดยเนื้อหาในการเจรจาไม่ได้เกี่ยวข้องกับสมาคมชาวปักษ์ใต้ แต่เป็นการเจรจาในเรื่องการเมือง ที่จะทำให้คนที่ 2 ได้ผลประโยชน์สูงสุด จากการไปร้องขอให้ช่วยเหลือทางคดี ในขณะที่อีกคนคือคนที่ 1 จะได้บุญคุณจากการช่วยเหลือคดี ส่วนคนสุดท้ายคนที่ 3 คือ บิ๊กโจ๊ก เป็นผู้ทำหน้าที่พาไปเพื่อช่วยลดความขัดแย้ง
ประเด็นที่ 3 บิ๊กโจ๊ก เล่าเบื้องหลัง ที่ต้องพาคนที่ 2 ไปพบ คนที่ 1 เพราะมีผู้ใหญ่ 2 ท่าน ซึ่งไม่ขอบอกชื่อขอร้องให้ทำ ต้องการให้บิ๊กโจ๊ก ถอดถอนเรื่องร้องเรียนคนที่ 1 ซึ่งกำลังจะเข้าคัดเลือกประธาน ป.ป.ช. ซึ่งบิ๊กโจ๊กตอบกลับผู้ใหญ่ไปแล้วว่า ไม่สามารถถอดถอนเรื่องได้ เพราะมีประชาชนลงชื่อให้ถอดถอนกว่า 25,000 คน
เมื่อถอดถอนเรื่องไม่ได้จึงมีการนัดหมายกัน 3 คน เพื่อให้คนที่ 1 ตีตกเรื่องที่บิ๊กโจ๊กร้องเรียนคนที่ 2 ไป บิ๊กโจ๊ก ยอมรับ ว่าถูกกดดัน ...”
รายละเอียดปรากฏตามภาพถ่ายหน้าจอเว็บไซต์สำนักข่าว pptvhd36 "บิ๊กโจ๊ก" ยอมรับแล้ว เป็นตัวกลางพา "สุชาติ" พบ "วันนอร์" เผยแพร่เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 14.40 นาฬิกา เข้าถึงได้จาก https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/242892 เอกสารสิ่งที่ส่งมาด้วย (14)
ต่อมา ภายหลังจากที่ปรากฏรายงานข่าวจากสำนักข่าวต่าง ๆ เกี่ยวกับนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ข้างต้น เป็นเหตุให้สื่อมวลชนสำนักข่าวต่าง ๆ ตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้ออกมาตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวว่า นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ที่ถูกกล่าวหาว่า เป็นบุคคลที่ร่วมสนทนาในเหตุการณ์ตามคลิป อาจได้รับประโยชน์จากการที่มีการยุติเรื่องร้องเรียนของพลตำรวจเอก สุรเชชษฐ์ หักพาล และประชาชนที่ยื่นต่อประธานรัฐสภาให้ตรวจสอบนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ขณะดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ก่อนที่ในเวลาต่อมา ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะมีการประชุมเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 เพื่อลงมติเลือกนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข เป็นประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือไม่ อันเป็นพฤติการณ์ที่มีประชาชนตั้งข้อสงสัยและวิพากษ์วิจารณ์ว่า การที่นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ซึ่งเป็นประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ แต่การที่นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ไปเข้าพบนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา
ซึ่งนายวันมูหะหมัดนอร์ มะทา ในฐานะประธานรัฐสภา เป็นผู้มีอำนาจพิจารณาส่งเรื่องร้องเรียนของพลตำรวจเอก สุรเชชษฐ์ หักพาล ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 236 ประกอบมาตรา 234 (1) อันเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข และกระบวนการดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของประธานรัฐสภา การที่นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข เข้าพบนายวันมูหะหมัดนอร์ มะทา เป็นการส่วนตัว และมีบทสนทนาตามที่ปรากฏในคลิปวิดิโอ อันเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสม ขาดความซื่อสัตย์สุจริตในทางสังคมเป็นการทั่วไป รายละเอียดปรากฏตามภาพถ่ายหน้าจอเว็บไซต์สำนักข่าวอิศรา “คลิป ล็อบบี้ พ่นพิษ ‘วันนอร์-สุชาติ’ สะเทือน ‘ประมุขนิติบัญญัติ-องค์กรตรวจสอบ’” เผยแพร่เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 10.50 นาฬิกา เข้าถึงได้จาก https://www.isranews.org/article/isranews-scoop/135633-politics-41.html เอกสารสิ่งที่ส่งมาด้วย (15) , ภาพถ่ายหน้าจอเว็บไซต์สำนักข่าวสยามรัฐ ““นิพิฏฐ์” ออกโรงหนุนปม “บิ๊กโจ๊ก” ปล่อยคลิปเสียง” เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 11.51 นาฬิกา เข้าถึงได้จาก https://siamrath.co.th/n/601114 เอกสารสิ่งที่ส่งมาด้วย (16), ภาพถ่ายหน้าจอเว็บไซต์สำนักข่าวมติชนออนไลน์ “สนธิญา ร้องเปิดไต่สวน ‘สุชาติ’ ปมคลิปพบ ‘วันนอร์’ ชงสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ ปธ.ป.ป.ช” เผยแพร่เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 14.29 นาฬิกา เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/politics/news_5053149 เอกสารสิ่งที่ส่งมาด้วย (17) และภาพถ่ายหน้าจอเว็บไซต์สำนักข่าวผู้จัดการออนไลน์ ““เทพไท”แนะจับตาเอฟเฟกต์คลิปหลุด“วันนอร์-สุชาติ” เชื่อมีผู้มีส่วนได้เสีย 2 คน” เผยแพร่เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.14 นาฬิกา เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/uptodate/detail/9680000016397 เอกสารสิ่งที่ส่งมาด้วย (18)
@ กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของประธาน ป.ป.ช.
ข้าพเจ้าขอกราบเรียนว่า จากข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานที่กล่าวมา เป็นกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่า คลิปวิดิโอที่บันทึกเหตุการณ์และบทสนทนากรณีนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และพลตำรวจเอก สุรเชชษฐ์ หักพาล อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เข้าพบนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา รายละเอียดปรากฏตามซีดีรอมบันทึกคลิปวิดีทัศน์รายการ “LIVE เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand” วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568 สิ่งที่ส่งมาด้วย (8) และซีดีรอมบันทึกคลิปวิดีทัศน์รายการเข้มข่าวค่ำ ในหัวข้อ “เปิดคลิป บ้านวันนอร์ ตกลง"บิ๊กโจ๊ก"ถ่ายจริงเหรอ?” วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 สิ่งที่ส่งมาด้วย (10) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงตามคลิปวิดิโอหรือไม่ ในกรณีที่เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริง ย่อมเป็นกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยตามสมควรให้ประธานรัฐสภาเสนอเรื่องไปยังประธานศาลฎีกาเพื่อตั้งคณะผู้ไต่สวนอิสระจากผู้ซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ เพื่อไต่สวนหาข้อเท็จจริง และดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ กฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป ดังต่อไปนี้
3.1 ไต่สวนว่า นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งเป็นบุคคลที่ปรากฏอยู่ในเหตุการณ์การเข้าพบนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา พร้อมกับ พลตำรวจเอก สุรเชชษฐ์ หักพาล อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โดยมีการพูดคุยกันปรากฏตามคลิปวิดีทัศน์รายการ “LIVE เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand” วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2568 สิ่งที่ส่งมาด้วย (8), คลิปวิดีทัศน์รายการเข้มข่าวค่ำ ในหัวข้อ “เปิดคลิป บ้านวันนอร์ ตกลง"บิ๊กโจ๊ก"ถ่ายจริงเหรอ?” วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 สิ่งที่ส่งมาด้วย (10) และตามที่มีรายงานข่าวการให้สัมภาษณ์ของนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา พร้อมกับพลตำรวจเอก สุรเชชษฐ์ หักพาล ตามที่ได้บรรยายมาแล้วข้างต้นนั้นถูกตัดต่อหรือบิดเบือนหรือไม่ ในกรณีที่ปรากฏว่าถูกตัดต่อหรือบิดเบือน ขอให้พิจารณาต่อไปว่า เป็นการถูกตัดต่อหรือบิดเบือนจนส่งผลกระทบต่อการพิจารณาตามที่กล่าวหาหรือไม่ ถ้าการถูกตัดต่อหรือบิดเบือนนั้นไม่ส่งผลกระทบต่อการพิจารณาตามที่กล่าวหาแล้ว ขอให้ดำเนินกระบวนการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
3.2 ไต่สวนว่า นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กระทำการตามคลิปวิดิโอที่บันทึกเหตุการณ์และบทสนทนา ซึ่งปรากฏพฤติการณ์ว่า นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข เข้าพบนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา พร้อมกับ พลตำรวจเอก สุรเชชษฐ์ หักพาล อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อเจรจาโดยมุ่งหวังหรือคาดหมายว่าจะได้รับซึ่งประโยชน์จากการที่นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานรัฐสภา จะยกเรื่องร้องเรียนที่พลตำรวจเอก สุรเชชษฐ์ หักพาล ยื่นหนังสือร้องเรียนนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ตามที่พลตำรวจเอก สุรเชชษฐ์ หักพาล ให้สัมภาษณ์ข้างต้นนั้น เข้าข่ายเป็นกรณีที่นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข มีพฤติกรรมเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 234 (1) ประกอบมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 หรือไม่
3.3 สืบเนื่องจากข้อ 3.2 ในกรณีที่ นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กระทำการตามคลิปวิดิโอที่บันทึกเหตุการณ์และบทสนทนาจริง ขอให้คณะผู้ไต่สวนอิสระ ไต่สวนว่า พฤติการณ์ของนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ที่เข้าพบกับนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานรัฐสภา พร้อมกับพลตำรวจเอก สุรเชชษฐ์ หักพาล อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อเจรจาโดยมุ่งหวังหรือคาดหมายว่าจะได้รับซึ่งประโยชน์จากการที่ให้นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานรัฐสภา จะยกเรื่องร้องเรียนที่พลตำรวจเอก สุรเชชษฐ์ หักพาล ยื่นหนังสือร้องเรียนนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ตามที่พลตำรวจเอก สุรเชชษฐ์ หักพาล ให้สัมภาษณ์ข้างต้นนั้น เข้าข่ายเป็นกรณีที่นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ฝ่าฝืนต่อมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561 ดังต่อไปนี้
3.3.1 มีพฤติการณ์ ขอ รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดในประการที่อาจทำให้กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในอนาคต จากการนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ขณะดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และอยู่ระหว่างรอกระบวนการการประชุมของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อลงมติเลือกประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ แต่กลับเข้าไปเจรจากับนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ในฐานะประธานรัฐสภา ที่เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 236 ประกอบมาตรา 234 วรรคหนึ่ง (1) ในการเสนอเรื่องไปยังประธานศาลฎีกาเพื่อตั้งคณะผู้ไต่สวนอิสระจากผู้ซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ เพื่อไต่สวนหาข้อเท็จจริงกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่า กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกระทำการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายหรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง กรณีจึงอาจเป็นการขอ รับ หรือยอมจะรับประโยชน์อื่นใด
กล่าวคือ การทำให้เรื่องร้องเรียนของพลตำรวจเอก สุรเชชษฐ์ หักพาล และประชาชนที่เข้าชื่อยื่นถอดถอนนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ยุติเรื่องลง เพื่อที่นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข จะได้ไม่มีเรื่องร้องเรียนอันอาจเป็นเหตุให้ตนเองมิได้รับความเห็นชอบหรือได้รับการเห็นชอบล่าช้าออกไปจากกระบวนการการประชุมของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อลงมติเลือกประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และขั้นตอนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อันเป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561 หมวด 1 มาตรฐานจริยธรรมอันเป็นอุดมการณ์ ข้อ 9 ที่กำหนดว่า “ต้องไม่ขอ ไม่เรียก ไม่รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดในประการที่อาจทำให้กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่” อันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง ตามข้อ 27 แห่งมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561
3.3.2 มีพฤติการณ์แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองได้เป็นประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จากการที่นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข เข้าเจรจากับนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ในฐานะประธานรัฐสภา เพื่อมุ่งหมายให้เรื่องร้องเรียนของพลตำรวจเอก สุรเชชษฐ์ หักพาล และประชาชนที่เข้าชื่อยื่นถอดถอนนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ยุติเรื่องลง ด้วยกระบวนการที่มิชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561 หมวด 1 มาตรฐานจริยธรรมอันเป็นอุดมการณ์ ข้อ 8 ที่กำหนดว่า “ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เพื่อตนเองหรือผู้อื่น หรือมีพฤติการณ์ที่รู้เห็นหรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตนแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ” อันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง ตามข้อ 27 แห่งมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561
3.3.3 มีพฤติการณ์เข้าข่ายการกระทำเพื่อให้ตนได้ประโยชน์โดยขัดกันกับประโยชน์ส่วนรวม โดยทางตรงหรือทางอ้อม เพราะการที่นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข เข้าเจรจากับนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ในฐานะประธานรัฐสภา เพื่อมุ่งหมายให้เรื่องร้องเรียนของพลตำรวจเอก สุรเชชษฐ์ หักพาล และประชาชนที่เข้าชื่อยื่นถอดถอนนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ยุติเรื่องลง เป็นการทำให้ตนเองได้มีโอกาสเข้าสู่กระบวนการลงมติเลือกประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติโดยไม่มีข้อร้องเรียนของพลตำรวจเอก สุรเชชษฐ์ หักพาล และประชาชนที่เข้าชื่อยื่นถอดถอน ซึ่งกระบวนการเข้าชื่อยื่นถอดถอนนั้นเป็นกระบวนการของประชาชนในการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่จะก่อประโยชน์ให้กับประชาชนผู้ทรงสิทธิในการมีส่วนใช้อำนาจตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรณีจึงเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่า นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข กระทำการเพื่อประโยชน์ส่วนตนอันเป็นการขัดต่อประโยชน์ที่ประชาชนโดยรวม อันเป็นการที่นายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข เข้าข่ายกระทำการฝ่าฝืนต่อมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561 หมวด 2 มาตรฐานจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลัก ข้อ 11 “ไม่กระทำการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม”
โดยเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงเจตนาของนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข ที่จะขัดขวางกระบวนการการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในการเข้าชื่อตรวจสอบผู้ใช้อำนาจรัฐ อันเป็นความมุ่งหมายและเจตนารมย์หลักประการหนึ่งของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งก่อผลความเสียหายร้ายแรงกระทบต่อสิทธิของประชาชนอย่างยิ่ง อันถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมในหมวด 2 ที่มีลักษณะร้ายแรง ตามข้อ 27 แห่งมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561
ข้อ 4. ตามที่บรรยายมาในข้อ 1. ถึง ข้อ 3. ความละเอียดแจ้งแล้วนั้น ในการนี้ ข้าพเจ้าสมาชิกรัฐสภา รายนามดังที่ได้เข้าชื่อท้ายหนังสือนี้ จึงขอใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 236 ประกอบมาตรา 234 วรรคหนึ่ง (1) กล่าวหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามข้อ 1. ถึงข้อ 3. ต่อประธานรัฐสภา ด้วยมีเหตุอันควรสงสัยว่า กระทำการทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายหรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง และขอให้ประธานรัฐสภาเสนอเรื่องไปยังประธานศาลฎีกาเพื่อตั้งคณะผู้ไต่สวนอิสระจากผู้ซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ดำเนินการไต่สวนหาข้อเท็จจริงว่า กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติผู้ใดจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายหรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง แล้วดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 237 เสนอเรื่องต่อศาลฎีกาหรือส่งสำนวนการไต่สวนไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามแต่กรณี และดำเนินการตามกฎหมายจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ต่อไป
อนึ่ง ในการดำเนินการเกี่ยวกับการการรับรองพยานหลักฐาน การจัดส่งพยานหลักฐานเพิ่มเติม และการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเข้าชื่อกล่าวหาตามหนังสือฉบับนี้ ตลอดจนการแก้ไขข้อผิดหลงหรือบกพร่อง ข้าพเจ้ารายนามปรากฏตามที่ได้เข้าชื่อท้ายหนังสือนี้ ขอมอบหมายให้นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุลสมาชิกรัฐสภา เป็นผู้แทนในการดำเนินการแทนข้าพเจ้า
จึงกราบเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
(นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ)
สมาชิกรัฐสภา