เผยคำสั่ง อสส. ไม่อุทธรณ์ คุก 50 ปี รอลงอาญา 'รุ่งเรือง ลิ้มชูปฏิภาณ์' อดีตผอ.ซิป้า บวชเป็นพระ คดีใช้เงินงบส่อไปในทางทุจริต 4 ข้อกล่าวหา นำรถหลวงไปใช้ส่วนตัวโดยมิชอบ ชี้ข้อกฏหมายเหมาะสมแล้ว
จากกรณีปรากฏข่าวศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง มีคำพิพากษาตัดสินคดีกล่าวหา นายหรือ พระรุ่งเรือง ลิ้มชูปฏิภาณ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (ซิป้า) ใช้เงินงบประมาณปี พ.ศ. 2552 ส่อไปในทางทุจริต จำนวน 4 ข้อกล่าวหา และนำรถยนต์ของราชการไปใช้ส่วนตัวโดยมิชอบ ซึ่งถูกคณะกรรมการ ป.ป.ช. ลงมติชี้มูลความผิดทางอาญา ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 8 และมาตรา 11 ป.อ.มาตรา 91
โดยศาลฯ มีคำพิพากษาลงโทษจำคุก 102 ปี 306 เดือน และปรับ 51,000 บาท แต่เมื่อรวมทุกกระทงแล้ว จำคุกจำเลยไม่เกิน 50 ปี พิเคราะห์รายงานสืบเสาะและพินิจจำเลย เห็นว่า จำเลยใช้รถยนต์ส่วนกลางไปปฏิบัติงานในหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ (องค์การมหาชน) มิได้นำไปใช้ในลักษณะส่วนตัว ประวัติและภูมิหลังไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน มีปัญหาสุขภาพ ปัจจุบันอุปสมบทเป็นพระภิกษุประพันธ์หนังสือเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศและพระพุทธศาสนาที่เป็นประโยชน์ไว้หลายเล่มเป็นธรรมทาน รวมทั้งแสดงธรรรมเทศนาอยู่เนื่อง ๆ ด้วยความรู้ของจำเลยจะสามารถสร้างคุณประโยชน์แก่สังคมและพุทธศาสนาด้วยการเผยแพร่แก่พหุชนได้ อีกทั้งได้วางเงินบรรเทาความเสียหาย ซึ่งผู้เสียหายรับไปแล้ว
ผลการประเมิน-การหวนกลับไปกระทำผิดซ้ำอยู่ในระดับต่ำโทษจำคุกให้รอไว้มีกำหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า ล่าสุด สำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต ได้เผยแพร่คำสั่งอัยการสูงสุด (อสส.) ไม่อุทธรณ์บทลงโทษในคดีนี้ ที่รอลงอาญาโทษจำคุก 50 ปี เป็นเวลา 2 ปี เนื่องจากเห็นว่าชอบด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเหมาะสมแล้ว แต่มีคำสั่งให้อุทธรณ์กรณีศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในประเด็นอื่นๆ
คำสั่งอัยการสูงสุด ระบุรายละเอียดว่า คดีนี้ อัยการสูงสุดมีคําสั่งรับดําเนินคดีอาญาฟ้อง จําเลย โดยมอบหมายให้พนักงานอัยการ สํานักงาน อัยการพิเศษฝ่ายคดีปราบปรามการทุจริต 3 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พระรุ่งเรือง หรือนายรุ่งเรือง ลิ้มชูปฏิภาณ์ โดยฟ้องจําเลยว่าเป็นพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทํา จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อํานาจในหน้าที่โดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่ องค์การ บริษัทจํากัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น และความผิดฐานเป็นพนักงาน ปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 8 ,11 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2526 มาตรา 4
โจทก์ยื่นฟ้องจําเลย เป็นคดีอาญาหมายเลขดําที่ อท.180/2566 ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและ ประพฤติมิชอบกลาง เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566
ชั้นพิจารณา จําเลยให้การรับสารภาพ
ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษา เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2567 โดยพิพากษาว่า จําเลยมีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 8 ฐานเป็น เจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทํา จัดการหรือรักษาทรัพย์ใดๆ ใช้อํานาจในหน้าที่โดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่ องค์การ บริษัทจํากัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น เมื่อการกระทําของจําเลยเป็นความผิดตามบทเฉพาะแล้วจึงไม่จําต้องปรับบทเป็นความผิดบททั่วไป ตามมาตรา 11 อีก
การกระทําของ จําเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ตามฟ้องโจทก์ข้อ 2.1 ถึงข้อ 2.11, ข้อ 2.13 ถึงข้อ 2.19, ข้อ 2.21 ถึงข้อ 2.25, ข้อ 2.27 ถึง ข้อ 2.29, ข้อ 2.31 ถึงข้อ 2.40 และข้อ 2.42 ถึงข้อ 2.56 รวม 51 กระทง จําคุกกระทงละ 5 ปี และปรับ กระทงละ 2,000 บาท จําเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้กึ่ง หนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจําคุกกระทงละ 2 ปี 6 เดือน และปรับกระทงละ 1,0 บาท รวมจําคุก 102 ปี 306 เดือน และปรับ 51,000 บาท
แต่เมื่อรวมทุกกระทงแล้ว จําคุกจําเลยไม่เกิน 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3)
พิเคราะห์รายงานสืบเสาะและพินิจจําเลยแล้ว เห็นว่า จําเลย ใช้รถส่วนกลางไปปฏิบัติงานในหน้าที่ผู้อํานวยการสํานักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การ มหาชน) มิได้นําไปใช้ในลักษณะส่วนตัว ประวัติและภูมิหลังไม่เคยกระทําผิดมาก่อน มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง แน่นอน มีปัญหาสุขภาพ ปัจจุบันอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ประพันธ์หนังสือเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศและพุทธ ศาสนาที่เป็นประโยชน์ไว้หลายเล่มเป็นธรรมทาน รวมทั้งแสดงธรรมเทศนาอยู่เนืองๆ ด้วยความรู้ของจําเลยจะ สามารถสร้างคุณประโยชน์แก่สังคมและพุทธศาสนาด้วยการเผยแพร่แก่พหุชนได้ อีกทั้งวางเงินบรรเทาความ เสียหายแก่ผู้เสียหายรับไปแล้ว ผลการประเมินการหวนกลับไปกระทําผิดซ้ําอยู่ในระดับต่ำ โทษจําคุกให้รอมีไว้ กําหนด 2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชําระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ยกฟ้องโจทก์ข้อ 2.12, ข้อ 2.20, ข้อ 2.26, ข้อ 2.30 และข้อ 2.41
สําหรับความผิดตามคําฟ้องข้อ 2.1 ถึงข้อ 2.11, ข้อ 2.13 ถึง 2.19, ข้อ 2.21 ถึงข้อ 2.25, ข้อ 2.27 ถึงข้อ 2.29, ข้อ 2.31 ถึงข้อ 2.40 และข้อ 2.42 ถึงข้อ 2.56 รวม 51 กระทง ซึ่งอัยการสูงสุดไม่อุทธรณ์ คําพิพากษารอการลงโทษนั้น
เห็นว่า การที่ศาลพิพากษาว่าจําเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด ของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 8 ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว ไม่จําเป็นต้องปรับ บทความผิดตามมาตรา 11 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก และเมื่อศาลพิพากษาว่าเป็นความผิดตาม มาตรา 8 แล้ว ไม่ว่าจะ เป็นบทเฉพาะกับบททั่วไป หรือ กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ผลของคําพิพากษาก็ยังคงเป็นความผิดตามมาตรา 8 จึงไม่เป็นประเด็นที่จะอุทธรณ์
ประกอบทั้งที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ลงโทษจําคุกจําเลยรวม 51 กระทง กระทงละ 5 ปี และปรับกระทงละ 2,000 บาท ลดโทษให้จําเลยกระทงละกึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจําคุกกระทงละ 2 ปี 6 เดือน และปรับกระทงละ 1,000 บาท รวมจําคุก 102 ปี 306 เดือน และปรับ 51,000 บาท เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วจําคุก 50 ปี และปรับ 50,000 บาท โทษจําคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี เห็นว่าชอบด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เหมาะสมแล้ว
จึงมีคําสั่งไม่อุทธรณ์คําพิพากษาลงโทษจําเลยในส่วนดังกล่าว
ส่วนกรณีที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในคําฟ้องข้อ 2.12 ข้อ 2.20 ข้อ 2.26 ข้อ 2,30 และข้อ 2.41 ในชั้นนี้ อัยการสูงสุดมีคําสั่งให้อุทธรณ์